บทบาทของเวชศาสตร์ฟื้นฟู ในสังคมผู้สูงอายุ
Main Article Content
Abstract
ประเทศไทยกำหนดนิยาม “ผู้สูงอายุ” ไว้ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุพ.ศ. 2546 มาตรา 3 “ผู้สูงอายุ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุเกิน หกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ใช้อายุ 65 ปีขึ้นไป การแบ่งช่วงอายุของผู้สูงวัยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ วัยต้น (อายุ 60 - 69 ปี) วัยกลาง (อายุ 70 - 79 ปี) และวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) ผลการสำรวจข้อมูลประชากรสูงวัยในประเทศไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปีพ.ศ. 2557 พบว่า ประเทศไทยมีผู้สูงวัยจำนวนร้อยละ 14.9 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปีพ.ศ. 2537 ถึง 2 เท่า โดยสามารถจำแนกผู้สูงวัยเป็นวัยต้น ร้อยละ 56.5 วัยกลางร้อยละ 29.9 และวัยปลาย ร้อยละ 13.6 ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” ในปีพ.ศ. 2564 หรือในอีกเพียง 4 ปีข้างหน้าเมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีมากถึงร้อยละ 20 และคาดว่าจะเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ในอีกไม่ถึง 20 ปีข้างหน้านี้เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด