ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin <p><strong>ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์</strong></p> <p>ISSN 2985-2900 (Online)</p> <p>ISSN 1906-6813 (print) (ยกเลิก)</p> <p>ISSN 2730-2342 (online) (ยกเลิก)</p> <p><strong>กำหนดออก:</strong> 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์: </strong> วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความวิชาการด้านการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา</p> <p><strong>ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566</strong></p> <p> </p> th-TH <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ&nbsp;</p> <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น</p> thidarat@bcnsurin.ac.th (ดร.ธิดารัตน์ คณึงเพียร l Dr.Thidarat Kanungpiarn) thawatchai@bcnsurin.ac.th (อาจารย์ธวัชชัย ยืนยาว l Mr.Thawatchai Yeunyow) Fri, 20 Dec 2024 09:00:11 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนตามทฤษฎีของแบนดูร่าต่อการรับรู้สมรรถนะ ด้านการบริการที่ดีของพยาบาลวิชาชีพและความพึงพอใจของผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/270177 <p>การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการรับรู้สมรรถนะด้านการบริการที่ดีของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้โปรแกรม และความพึงพอใจของผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยใน ภายหลังการใช้โปรแกรมของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานหอผู้ป่วยใน 35 ราย ผู้ป่วยใน 275 ราย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน 2) การรับรู้สมรรถนะด้านการบริการที่ดีของพยาบาลวิชาชีพ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ 4) โปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนและสมรรถนะด้านการบริการที่ดีของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่า 0.85, 0.98 และ 0.80 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่า 0.94, 0.98 และ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการรับรู้สมรรถนะด้านการบริการที่ดีสูงกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยในมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.67 อยู่ในระดับมาก สรุปได้ว่าโปรแกรมสามารถเพิ่มสมรรถนะแห่งตนและสมรรถนะด้านการบริการที่ดีของพยาบาลวิชาชีพได้ และผู้ป่วยในมีความพึงพอใจในบริการพยาบาล ดังนั้นควรนำโปรแกรมไปใช้พัฒนาสมรรถนะแห่งตนและสมรรถนะด้านการบริการที่ดีของพยาบาลวิชาชีพแผนกอื่น ๆ ต่อไป</p> เสาวภา สมรูป, ขนิษฐา มณีเรืองเดช Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/270177 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เขตเมือง จังหวัดพิษณุโลก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/270481 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด 19) เขตเมือง จังหวัดพิษณุโลก และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแยกตามกลุ่มวัย กลุ่มตัวอย่างสุ่มอย่างง่ายแบบไม่แทนที่ ในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง จำนวน 415 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตแยกตามกลุ่มวัย ด้วยสถิติ independent t-test</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตโดยรวม อยู่ในระดับดีร้อยละ 67.95 เมื่อพิจารณารายมิติตามองค์ประกอบในการวัดคุณภาพชีวิต พบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตด้านจิตใจดีที่สุด (ร้อยละ 71.81) รองลงมา คือคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพกาย และด้านสัมพันธภาพทางสังคม ร้อยละ 67.71, ร้อยละ 57.35 และร้อยละ 49.64 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตตามกลุ่มวัยไม่มีความ<br />แตกต่างกัน</p> มัลลิกา คำทา, สุภาณี คลังฤทธิ์, จุฑามาศ รัตนอัมภา Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/270481 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับระยะความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกในสตรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/271668 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับระยะความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกในสตรี กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในสตรีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกครั้งแรกของการมารับบริการ ณ แผนกสูตินรีเวช ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ถึง 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562 จำนวน 116 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครซี่และมอร์แกน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (systematic sampling) ระยะความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกในสตรี เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบบันทึกข้อมูลระยะความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกตามเกณฑ์ FIGO 2018 ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.82 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติไคสแควร์และการทดสอบฟิชเชอร์</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 40-49 ปี (ร้อยละ 30.20) มีสถานภาพสมรส (ร้อยละ 96.60) HIV infection (ร้อยละ 1.70) มีจำนวนการตั้งครรภ์ 1-2 ครั้ง (ร้อยละ 48.30) เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่ม (early stage) คือ stage I (IA1-IB3) (ร้อยละ 45.70) ระยะลุกลาม (advanced stage) คือ stage II (IIA1-IIB) (ร้อยละ 29.30), stage III (IIIA-IIIC2) (ร้อยละ 21.60), stage IV (IVA-IVB) (ร้อยละ3.40)และจำนวนครั้งการตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับระยะความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ อายุ สภานภาพสมรส HIV infection ประวัติการใช้ยาคุมกำเนิดไม่มีความสัมพันธ์กับระยะความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น บุคลากรด้านสุขภาพควรส่งเสริมให้สตรีที่มีการตั้งครรภ์หรือมีบุตรหลายคนเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ ให้ความรู้และจัดกิจกรรมเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและระยะลุกลามของมะเร็งปากมดลูก</p> เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย, เทพอุทิศ กั้วสิทธิ์, อุมาภรณ์ กั้วสิทธิ์, ดวงธิดา ช่างย้อม Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/271668 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครองเพื่อปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/271721 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครอง และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครองและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองเด็กสมาธิสั้นที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์โดยได้รับการจับคู่และสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน โดยที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครองร่วมกับการพยาบาลตามปกติเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือการทดลองคือโปรแกรมฝึกทักษะผู้ปกครองเพื่อปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น พัฒนาตามแนวคิดการฝึกอบรมผู้ปกครอง ประยุกต์กับทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ของโคล์บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น (SNAP-IV) จำนวน 26 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นและมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, Independent t-test และ paired t-tests</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น หลังได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครองลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครองลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ปกครองมีประสิทธิภาพในการเพิ่มทักษะผู้ปกครอง และยังช่วยลดปัญหาด้านพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นได้ </p> กัญชมน สีหะปัญญา, เนาวรัตน์ สืบภา Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/271721 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการใส่คาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/270085 <p>โรงพยาบาลรามัน มีอุบัติการณ์ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (UTI) ในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ 2) พัฒนารูปแบบ 3) ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการใส่คาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 - 30 เมษายน 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะกลับบ้านรายเก่าและรายใหม่ ในเดือนกันยายน 2566 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ในการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ประเมินผลโดยเปรียบเทียบผลการประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและการดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ ก่อนและหลัง</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า สภาพการณ์ผู้ดูแลต้องการให้สนับสนุนอุปกรณ์ ร้อยละ 88 ความรู้ ร้อยละ 60 ผู้ป่วยในความดูแลเคยมีประวัติติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 48 ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อคือ อายุ กลุ่มโรค NCD ระยะเวลาในการคาสายสวน รูปแบบการดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้านคือ (CCUTI model) ประกอบด้วย C = caregiver ผู้ดูแล C = continue ความต่อเนื่อง U = unity ความร่วมมือ T = training ฝึกอบรมผู้ดูแล I = instrument เครื่องมือ หลังนำรูปแบบไปทดลองใช้ เมื่อติดตามผู้ป่วยครบ 6 เดือน พบว่า การปฏิบัติป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะก่อนร้อยละ 37.42 หลังได้ร้อยละ 94.72 อุบัติการณ์ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะลดลงร้อยละ 26.27 ดังนั้น ควรศึกษาในแต่ละกลุ่มที่ปัจจัยเสี่ยงใกล้เคียงกันและทำแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบ</p> ทิพวดี สีสุข Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/270085 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 การบรรเทาปวดในระยะคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/271503 <p>การคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก เป็นวิกฤติสำคัญเหตุการณ์หนึ่งของชีวิต เนื่องจากความไม่พร้อมด้านร่างกายและจิตใจของผู้คลอด ทำให้มีพฤติกรรมการเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดในระยะคลอดไม่เหมาะสม เกิดความตึงเครียดและส่งผลให้ระยะคลอดยาวนาน การบรรเทาปวดในระยะคลอด ทำให้มีระดับความเจ็บปวดลดลง มีพฤติกรรมการเผชิญหน้าความเจ็บปวดในระยะคลอดที่เหมาะสม งานวิจัยนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปวิธีการและผลลัพธ์ของการบรรเทาปวดในระยะคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก โดยใช้ระเบียบการวิจัยตามแนวคิดของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของสถาบัน Joanna Briggs พบงานวิจัย 6 เรื่อง ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 - 2566 เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง ระดับความน่าเชื่อถือที่ Level 2.c ผู้วิจัยมีการสกัดเนื้อหา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล มีวิธีการจัดการบรรเทาปวดที่แตกต่างกันออกไป จัดทำสรุปวิธีการบรรเทาปวดในระยะคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก</p> <p>ผลการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในครั้งนี้ สามารถสรุปวิธีการบรรเทาปวด ได้แก่ การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด การประคบร้อนและเย็น การนวดหลังและฝ่าเท้า และการจัดการความเจ็บปวดโดยการหายใจและเคลื่อนไหวอย่างอิสระ มีประสิทธิภาพการบรรเทาปวดในระยะคลอด สำหรับหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาสำหรับการบรรเทาปวดในระยะคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก โดยมีการสนับสนุนทางสังคม เช่น สามี บุคคลอื่น ๆ ในครอบครัว ในระยะคลอดอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเจ็บปวด</p> จาฎุพัจน์ ศรีพุ่ม, ปรีดาวรรณ กะสินัง, ฐิติมา คาระบุตร Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/271503 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประสบการณ์ชีวิตของครูผู้สอนเด็กออทิสติกในโรงเรียน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/271809 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของครูผู้สอนเด็กออทิสติกในโรงเรียน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าได้ครูผู้สอน 11 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ด้วยวิธีวิทยาการศึกษาประสบการณ์ชีวิตและเรื่องเล่าตามแบบปรากฏการณ์วิทยา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนเด็กออทิสติกทำหน้าที่สอน ดูแลสุขภาพเด็กและสอนทักษะชีวิตเสมือนเป็นลูกตัวเอง 2) ความสำเร็จเกิดจากความเข้าใจ ไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาอุปสรรค และได้รับความร่วมมือครูเข้าใจเด็ก ผู้ปกครองเอาใจใส่ ผู้บริหารสนับสนุน เพื่อนและตัวเด็กเอง ที่สำคัญครูออกแบบการเรียนรู้และปรับวิธีการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะเด่นของผู้เรียนรายบุคล 3) ปัญหาอุปสรรคด้านผู้ปกครอง เด็กเอง และบุคลากร แต่ครูเท่าที่มีก็ตั้งใจสอน และสามารถจัดการปัญหาบางอย่างได้ 4) ครูต้องการให้ผู้ปกครองช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ต้องการให้ทุกส่วนมีความเข้าใจเด็กและให้การสนับสนุนช่วยเหลือครู ทั้งผู้บริหารโรงเรียนและเพื่อนครู โรงพยาบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสังคมโดยทั่วไป ข้อเสนอแนะ ทีมผู้บริหารการศึกษาและทีมผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดเป็นนโยบาย จัดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพแก่เด็กออทิสติกรวมทั้งจัดระบบการส่งเสริมสนับสนุนผู้ปกครองเด็กอย่างเป็นรูปธรรมให้มากขึ้น โดยร่วมกันจัดระบบการดูแลเด็กและระบบการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสำหรับบุคคลออทิสติก และมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และควรศึกษาวิจัยการพัฒนาโปรแกรมการสอนเด็กออทิสติกในโรงเรียน</p> <p> </p> วิลาวัณย์ กล้าแรง, ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง, กัลยรัตน์ ศรกล้า, พัชรินทร์ วรรณทวี, พยอม ตัณฑจรรยา, รุจิสรร สุระถาวร Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/271809 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700