ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin <p><strong>ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์</strong></p> <p>ISSN 2985-2900 (Online)</p> <p>ISSN 1906-6813 (print) (ยกเลิก)</p> <p>ISSN 2730-2342 (online) (ยกเลิก)</p> <p><strong>กำหนดออก:</strong> 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์: </strong> วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความวิชาการด้านการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา</p> <p><strong>ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566</strong></p> <p> </p> วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ th-TH ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2985-2900 <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ&nbsp;</p> <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น</p> การพัฒนาความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในชุมชน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/266798 <p>การพัฒนาความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาลเป็นบทบาทสำคัญของอาจารย์พยาบาลที่แสดงถึงการใช้องค์ความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญสู่การดูแลบุคคล ครอบครัว และชุมชนอย่างมีคุณภาพ ผู้ศึกษาในบทบาทอาจารย์พยาบาลได้พัฒนาความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อใช้ประสบการณ์ด้านการปฏิบัติการพยาบาลและองค์ความรู้สู่การพยาบาลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท ของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 4 (บึงขุนทะเล) จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 9 ราย ที่อาการทางจิตทุเลา ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีสัมพันธภาพและทำหน้าที่ทางสังคมได้ รับประทานยาต่อเนื่องและพบแพทย์ตามนัด บางรายมีอาการระยะหลงเหลือ บกพร่องกิจวัตรประจำวัน บกพร่องสัมพันธภาพและหน้าที่ทางสังคม รับประทานยาและรักษาไม่ต่อเนื่อง ผู้ศึกษาใช้มิติการฟื้นฟูและการบำบัดรักษา ใช้ตนเองเป็นเครื่องมือในการบำบัด สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ตรวจสภาพจิต ให้ข้อมูลความจริง ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตามแผนการรักษา การจัดการเบื้องต้นเมื่ออาการทางจิตกำเริบและปัญหาการรับประทานยา การรักษาโรคจิตเภทและโรคทางกายควบคู่กัน และแหล่งบริการทางสุขภาพเพื่อส่งต่อ รวมทั้งเสริมแรงทางบวก พัฒนาคุณค่าในตนเอง และเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้ที่เป็นโรคจิตเภทและญาติให้อยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข จากการปฏิบัติการพยาบาลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในชุมชนจะสามารถดูแลตนเองและอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข ผู้ศึกษาเกิดความท้าทายและตั้งใจพัฒนาความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในชุมชนและขยายวงกว้างไปยังผู้ที่เป็นโรคจิตชนิดอื่น ๆ เพื่อแสดงถึงความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น</p> ขวัญตา ภูริวิทยาธีระ ปนิดา พุ่มพุทธ Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-01 2024-05-01 14 1 160 176 การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/267316 <p>วิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น 2) พัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการคลอดก่อนกำหนด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย บทบาทการเป็นมารดา และความเครียดในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น และ 3) เพื่อประเมินคุณภาพของโปรแกรม โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) การศึกษาสภาพปัญหาและการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น จำนวน 24 คน 2) การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลโปรแกรม จากสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในหน่วยงานฝากครรภ์ และคลอด ณ ห้องคลอดโรงพยาบาลในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 212 คน และ 3) การประเมินคุณภาพโปรแกรมจากผู้เชี่ยวชาญ 13 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .77 ถึง .92 วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและไคสแควร์ </p> <p>ผลการวิจัยพบว่าวัยรุ่นตั้งครรภ์มีทัศนคติต่อการตั้งครรภ์เชิงลบ ภายหลังยอมรับการตั้งครรภ์ได้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกเชิงบวก ผลการพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม พบว่า กลุ่มทดลองมีอัตราการคลอดก่อนกำหนด และทารกมีภาวะน้ำหนักตัวน้อยต่ำกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt; .01) กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยบทบาทมารดา ความเครียดสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt; .001, <em>p</em>&lt;.01) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยแต่ละระยะพบว่า หลังได้รับโปรแกรม และระยะติดตามผลมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt; .001) สรุปได้ว่าการเสริมสร้างพลังอำนาจมีประสิทธิภาพในการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น</p> นุชจรี ไสยสมบัติ บาลิยา ไชยรา ปริญญา ชำนาญ สมจิตต์ ลุประสงค์ กุณฑ์ชลี เพียรทอง นุสรา วิชย์โกวิทเทน Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-01 2024-05-01 14 1 1 19 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/267702 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมและภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลที่มีอายุระหว่าง 35 ขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรองเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.96 ค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.87 3) แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.88 ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรของสัมประสิทธิแอลฟา เท่ากับ 0.88 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ paired t-test และ independent t-test </p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มทดลองเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.001) ดังนั้น โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ดีขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่</p> มิตรธิรา แจ่มใส วิภาพร สิทธิสาตร์ ธิติรัตน์ ราศิริ Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-01 2024-05-01 14 1 20 36 ผลของการให้ความรู้โดยใช้สื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้าต่อพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/267094 <p>การศึกษากึ่งทดลองรูปแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ก่อนและหลังการได้รับความรู้จากสื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้า 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพในการใช้งานสื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้า กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ระหว่างเดือนกรกฎาคมกันยายน 2566 จำนวน 30 คน และ 2) พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยเบาหวานและใช้งานสื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้า จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) วีดิทัศน์ให้ความรู้การดูแลเท้า 2) คู่มือการดูแลเท้า 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพในการใช้งานสื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และเปรียบเทียบผลคะแนนโดยใช้สถิติการทดสอบหาค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าสูงขึ้นภายหลังการได้รับความรู้จากสื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้า (<em>M</em> = 2.30, <span style="font-style: normal !msorm;"><em>SD</em></span> = 0.13) สูงกว่าก่อนได้รับการให้ความรู้ (<em>M</em> = 1.47 (<em>SD</em> = 0.2) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) ความพึงพอใจของผู้ป่วย (<em>M</em> = 4.79, <em>SD</em> = 0.28) และพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้งานสื่อวีดิทัศน์และคู่มือการดูแลเท้าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<em>M</em> = 4.93, <em>SD</em> = 0.16)</p> เนตรนภา ปาวงค์ พรภิมล สุขเพีย Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-01 2024-05-01 14 1 37 51 รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/267371 <p>การวิจัยและพัฒนานี้วัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารและประเมินผลการใช้รูปแบบพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร 2) การสร้างและทดลองใช้รูปแบบฯ และ 3) ทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบฯ ผ่านการทดลองใช้และประเมินผลในกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลหนองบัว อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด เลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบโควตา ได้กลุ่มทดลอง 38 คน กลุ่มควบคุม 38 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบประเมินระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น หาความเชื่อมั่น ได้ค่า 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติทีแบบอิสระต่อกัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ การสนับสนุนการปฏิบัติงานโดยบุคคลอื่น และการใช้คู่มือในการใช้แอปพลิเคชัน หลังการนำรูปแบบไปใช้พบว่า กลุ่มทดลอง (<em>M</em> = 4.27, <em>SD</em> = 0.45) มีระดับสมรรถนะสูงกว่ากลุ่มควบคุม (<em>M</em> = 4.02, <em>SD</em> = 0.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (และสูงกว่าก่อนทดลอง (<em>M</em> = 3.44, <em>SD</em> = 0.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารสามารถนำไปใช้สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขได้</p> กิตติพงษ์ พลทิพย์ ปภัชญา คัชรินทร์ ธัญลักษณ์ ตั้งธรรมพิทักษ์ อติญา โพธิ์ศรี กิรณานันท์ สนธิธรรม ทองมี ผลาผล Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-01 2024-05-01 14 1 52 65 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมรังแกผู้อื่นบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/267619 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมรังแกผู้อื่นบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ในเขตเทศบาลจังหวัดสุรินทร์ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบ multi stage sampling โดยในแต่ละชั้นปี สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) ชั้นปีละ 1 ห้อง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 116 ราย เก็บข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามประสบการณ์การถูกข่มเหงรังแกบนโลกไซเบอร์ 2) แบบสอบถามแบบอย่างพฤติกรรมความรุนแรงจากสื่อออนไลน์ 3) แบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู 4) แบบสอบถามอิทธิพลความรุนแรงจากเพื่อน 5) แบบสอบถามพฤติกรรมรังแกผู้อื่นบนโลกไซเบอร์ มีค่าความเชื่อมั่นแอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.83, 0.93, 0.79, 0.84 และ 0.73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมรังแกผู้อื่นบนโลกไซเบอร์อยู่ในระดับน้อย (<em>M</em> = 27.14, <em>SD</em> = 2.55) อิทธิพลความรุนแรงจากเพื่อนและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบให้อิสระอย่างมีขอบเขต สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมรังแกผู้อื่นบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ร้อยละ 37.6 (R<sup>2</sup> = 0.376, F<sub>(1, 113) </sub>= 11.076,<em> p</em> &lt; .001) ข้อเสนอแนะ การศึกษาต่อไปควรจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมรังแกผู้อื่นบนโลกไซเบอร์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เน้นให้กลุ่มเพื่อนที่นักเรียนใช้เวลาร่วมกันเป็นส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยและส่งเสริมผู้ปกครองให้มีรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูบุตรแบบมีอิสระอย่างมีขอบเขต</p> รศิกาญจน์ พลจำรัสพัญช์ ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ นฤมล ธีระรังสิกุล Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-01 2024-05-01 14 1 66 80 ผลของกิจกรรมรักษาอุโบสถศีลในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาต่อความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/267601 <p>ความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้ทำหน้าที่สูงสุด การรักษาอุโบสถศีลในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ งานวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการรักษาอุโบสถศีลในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาต่อความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในตำบลหนองบัว อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 80 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ กิจกรรมการรักษาอุโบสถศีลในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความมีชีวิตชีวา ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แคปปา &gt; 0.3 ทุกข้อ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีความมีชีวิตชีวาหลังการทดลอง (<em>M</em> = 17.30,<em> SD</em> = 2.31) สูงกว่าก่อนการทดลอง (<em>M</em> = 16.78,<em> SD</em> = 2.37) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง มีความมีชีวิตชีวา (<em>M</em> = 17.30,<em> SD</em> = 2.31) สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (<em>M</em> = 16.35,<em> SD</em> = 3.11) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุก็ควรที่จะได้รับการส่งเสริมความมีชีวิตชีวาในรูปแบบกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีความหลากหลายและต่อเนื่อง</p> เรืองศรี ศรีสวนจิก กิตติพงษ์ พลทิพย์ รักษ์สุดา ชูศรีทอง สุพัตรา เชาว์ไวย Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-01 2024-05-01 14 1 81 92 การศึกษาความต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่ใช่ยาของหญิงในระยะคลอด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/267727 <p>การศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่ใช่ยาของหญิงในระยะคลอดและเพื่อเปรียบเทียบความต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่ใช่ยาของหญิงในระยะคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงในระยะคลอดจำนวน 146 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยซึ่งพัฒนาโดยผู้วิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความกลัวการคลอดบุตร และแบบสำรวจความต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่ใช่ยา ค่าความเชื่อมั่น 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไควแสควร์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 15-45 ปี (อายุเฉลี่ย 26.99, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 5.94) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 60.2) เป็นแม่บ้าน (ร้อยละ 41.1) แต่งงาน(ร้อยละ 96.6) กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาครรภ์หลังมากที่สุด (ร้อยละ 61.0) ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐบาล (ร้อยละ 84.9) คลอดทางช่องคลอด (ร้อยละ 84.9) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 89.7 ระบุว่าต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่ใช่ยา ในกลุ่มที่ระบุว่าต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดนั้น วิธีการนวดหลังเป็นวิธีที่ต้องการมากที่สุด (ร้อยละ 64.4) รองลงมาคือ ฟังเพลง (ร้อยละ 61.0) เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนความต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่ใช่ยา ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ และชนิดของการคลอด พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ พยาบาลวิชาชีพควรจัดทำแนวปฏิบัติในการใช้วิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดที่มีวิธีการที่หลากหลายและให้หญิงในระยะคลอดสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการและตามความเหมาะสม</p> ชัชฎาพร จันทรสุข พิริยา ทิวทอง ศีตรา มยูขโชติ จุฬารัตน์ ห้าวหาญ Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-01 2024-05-01 14 1 93 105 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อป้องกันโรคอ้วนสำหรับวัยรุ่นตอนต้น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/268433 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อป้องกันโรคอ้วน สำหรับวัยรุ่นตอนต้นก่อนและหลังการใช้โปรแกรมและเปรียบเทียบความรอบรู้ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นตอนต้นที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพแบบผสมผสาน และ 2) แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพ ที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นและมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกันและการทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความรอบรู้ด้านสุขภาพหลังการใช้โปรแกรมสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานสามารถส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพแก่วัยรุ่นเพื่อป้องกันโรคอ้วนได้ ดังนั้นควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานไปใช้ในการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อไป</p> นวลตา เศลวัตนะกุล Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-01 2024-05-01 14 1 106 125 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ของนักศึกษาที่กำลังศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/268716 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ของนักศึกษาที่กำลังศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจำนวน 320 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ทัศนคติต่อบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ การเข้ารับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ และความต้องการจัดบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ด้วยวิธีของคูเดอร์ริชาร์ดสัน เท่ากับ 0.84 ทัศนคติต่อบริการอนามัยการเจริญพันธุ์และความต้องการจัดบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ด้วยวิธีการสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช เท่ากับ 0.71 และ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 75 มีอายุระหว่าง 18-21 ปี (ร้อยละ 55) ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาได้เข้ารับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ร้อยละ 35.30 ส่วนใหญ่รับบริการถุงยางอนามัยและยาเม็ดคุมกำเนิดร้อยละ 97.35 และ 52.21 ตามลำดับ ความต้องการเกี่ยวกับการจัดบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในสถานศึกษาพบว่าต้องการให้มีบริการด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยวัยรุ่น และให้คำปรึกษาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ ร้อยละ 73.13 โดยปัจจัยด้านเพศ การมีเพศสัมพันธ์ อายุ สถานที่พักและค่าใช้จ่ายที่ได้รับ มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt; 0.05) ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรจัดบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์</p> นราวุธ สินสุพรรณ์ กัญญา กิ่งจันทร์ สุรีรัตน์ สืบสันต์ นภา วงษ์ศรี อัจฉรา แหลมทอง Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-01 2024-05-01 14 1 126 143 การประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองด้วย Color Chart ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลอำเภองาว จังหวัดลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/268756 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านโรคหลอดเลือดสมองด้วยตารางสี ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์คุณสมบัติเฉพาะของการใช้ตารางสีเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากฐานข้อมูล ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มารักษาโรงพยาบาลงาว จังหวัดลำปาง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565 จำนวน 7,338 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองโดยใช้ตารางสี ค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินที่วิเคราะห์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ (Spearman rho) อยู่ในระดับดีมาก (rS=1.00, <em>p</em>=.000) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายการเป็นโรค ค่าทำนายการไม่เป็นโรค และความถูกต้อง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มโรคที่ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้วยตารางสี ส่วนใหญ่ (³ 80 %) มีผลการประเมินในระดับความเสี่ยงต่ำและปานกลาง โดยผลการประเมินด้วยตารางสีมีความสัมพันธ์กับผลการวินิจฉัยจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ อย่างมีนัยสำคัญ (<em>p</em>&lt; 0.0001) การวิเคราะห์คุณสมบัติเฉพาะของด้านของการใช้ตารางสีเปรียบเทียบกับผลจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์พบว่า เมื่อใช้เกณฑ์จุดตัดตามตารางสีตั้งแต่ระดับเสี่ยงปานกลางขึ้นไป (³ 10 %) จะได้ค่าความไว (sensitivity) 70.19% ดีกว่าใช้เกณฑ์ที่ระดับเสี่ยงสูงขึ้นไป (³ 20%) ทั้งนี้ค่าทำนายการเป็นโรคและไม่เป็นโรค มีค่าใกล้เคียงกัน ข้อเสนอแนะ การประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้ตารางสี มีความง่ายในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่ำ และเหมาะสมกับบริบทโรงพยาบาลชุมชน</p> รณชัย บัวบาง กฤษฎิ์ ทองบรรจบ ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-01 2024-05-01 14 1 144 159