https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/issue/feed ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2023-12-01T00:00:00+07:00 ดร.ธิดารัตน์ คณึงเพียร [email protected] Open Journal Systems <p><strong>ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์</strong></p> <p>ISSN 2985-2900 (Online)</p> <p>ISSN 1906-6813 (print) (ยกเลิก)</p> <p>ISSN 2730-2342 (online) (ยกเลิก)</p> <p><strong>กำหนดออก:</strong> 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์: </strong> วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความวิชาการด้านการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา</p> <p><strong>ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566</strong></p> <p> </p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/261948 การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับเลือดเนื่องจากภาวะตกเลือดหลังคลอด: 2023-04-28T09:35:17+07:00 ชัชฎาพร จันทรสุข [email protected] รุ้งนภา ปรากฏดี [email protected] <p>การศึกษารายกรณีมารดาหลังคลอดนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการของโรค และแนวทางการดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะช็อค และแนวทางการให้เลือด โดยกรณีศึกษาเป็นมารดาหลังคลอดวัยเจริญพันธ์ การวินิจฉัยโรคเป็นภาวะตกเลือดหลังคลอด มีภาวะแทรกซ้อน คือ มีภาวะปริมาณเลือดไหลเวียนมากเกินในระบบไหลเวียนหลังได้รับเลือด (TACO) และภาวะปอดได้รับอันตรายหรืออักเสบหลังได้รับเลือดเฉียบพลัน (TRALI) มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลตามกระบวนการพยาบาล และการประเมินสุขภาพของมารดาหลังคลอดตามมาตรฐานการดูแลมารดาหลังคลอด</p> <p>ผลการศึกษารายกรณี พบปัญหาทางการพยาบาล ได้แก่ ภาวะช็อคจากการตกเลือด ภาวะพร่องออกซิเจน มีภาวะปริมาณเลือดไหลเวียนมากเกินในระบบไหลเวียนหลังได้รับเลือด (TACO) และภาวะปอดได้รับอันตรายหรืออักเสบหลังได้รับเลือดเฉียบพลัน (TRALI) กรณีศึกษาได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติในการพยาบาลการตกเลือดหลังคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารสารน้ำ การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก และการให้เลือดตามแผนการรักษาและเฝ้าระวังอาการผิดปกติอย่างใกล้ชิดใช้ระยะเวลาในการรักษา 8 วัน (ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565 ถึง 24 มีนาคม 2565) แพทย์จึงอนุญาตให้กลับบ้านได้</p> <p>ข้อเสนอแนะ การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือดและมีภาวะช็อคจนได้รับเลือดตามแนวปฏิบัติการให้เลือดของโรงพยาบาล ได้แก่ พยาบาลให้การพยาบาลอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันอันตรายและภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น พยาบาลต้องดูแลให้ได้รับสารน้ำและเลือดทดแทนตามแผนการรักษา และเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในกรณีที่ให้เลือด เช่น หากผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย แน่นหน้าอก ควรหยุดให้เลือดทันที หรือพิจารณาให้เลือดโดยการผ่านเครื่องควบคุมอัตราการหยดของเลือด หากพบความผิดปกติรีบรายงานแพทย์ทันทีเพื่อการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป</p> 2023-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/263908 บทบาทพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน 2023-06-19T14:16:28+07:00 เมธาวินี ขุมทอง [email protected] พรรณงาม วรรณพฤกษ์ [email protected] นงค์นุช คุณะโคตร [email protected] ธันยาวดี โกวศัลย์ดิลก [email protected] <p>ภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน จะทำให้เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจน และเนื้อสมองตาย ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูงขึ้น ส่วนผู้ที่รอดชีวิตอาจจะมีความพิการที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย และครอบครัวได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทของพยาบาลร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานการพยาบาล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่านระยะวิกฤติได้อย่างปลอดภัย สามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเนื้อหาได้เน้นบทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่แรกรับไปจนกระทั่งจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ได้แก่ บทบาทในการคัดกรองผู้ป่วย การประเมินอาการทางระบบประสาท การควบคุมความดันในกะโหลกศีรษะ การจัดการความดันโลหิต การดูแลระบบทางเดินหายใจและการให้ออกซิเจน การให้สารน้ำ การดูแลการรับประทานอาหาร การดูแลการขับถ่าย และการเคลื่อนไหวร่างกาย ส่วนการให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลได้เน้นการใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการประเมินความเสี่ยงและความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งเสริมการรับรู้โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลันรวมถึงข้อมูลการส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบริการที่เหมาะสม</p> 2023-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/263626 ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายต่อความรู้และพฤติกรรมในนักเรียนแกนนำชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 2023-06-12T14:26:58+07:00 ประภาศรี วงศ์จินดารักษ์ [email protected] อักษรา ทองประชุม [email protected] วรางคณา นาคเสน [email protected] <p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายต่อความรู้และพฤติกรรมในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนแกนนำชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูลวัดผลก่อนและหลังได้รับโปรแกรมโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย แบบสอบถามพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายด้วยสถิติเชิงอนุมาน Wilcoxon signed rank Test สำรวจและบันทึกการสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตนเองก่อนและหลังการให้โปรแกรม 2 ครั้ง</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.001) โดยค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเท่ากับ 4.2±2.7 และ 13.6±0.5 ตามลำดับ และพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเท่ากับ 1.8±0.2 และ 2.6±0.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่ผู้วิจัยเป็นผู้สำรวจด้วยตนเองภายหลังนักเรียนได้รับโปรแกรม 2 ครั้งมีค่าลดลง โดยก่อนการให้โปรแกรม อยู่ในระดับความเสี่ยงสูง (HI=100, BI=850 และ CI=100) หลังการให้โปรแกรม 4 สัปดาห์ พบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลงแต่ยังคงอยู่ในระดับความเสี่ยงสูง (HI=50, BI=200 และ CI=23.5) และหลังการให้โปรแกรม 20 สัปดาห์อยู่ในระดับความเสี่ยงต่ำ (HI=0, BI=0 และ CI=0)</p> <p>โปรแกรมการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายที่พัฒนาขึ้น สามารถเพิ่มความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายให้แก่นักเรียนแกนนำที่เข้าร่วมโปรแกรมการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย</p> 2023-12-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/264575 การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน 2023-07-10T14:41:49+07:00 นุชรีย์ ทองเจิม [email protected] ธีรวัฒน์ สกุลมานนท์ [email protected] ลัดดาวัลย์ สิทธิสาร [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย 60 คน เก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม เทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) กระบวนการ PAR ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ปัญหาและการวางแผนพัฒนา 2) การปฏิบัติตามแผน 3) การสังเกตผล 4) การสะท้อนกลับเพื่อการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการแก้ปัญหา เป็นการนำทรัพยากรจากชุมชนมาพัฒนาศักยภาพชุมชน ให้สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผน ดำเนินการ และติดตามประเมินผลในการแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูมีกิจกรรม 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาและคัดกรอง 2) การบำบัดฟื้นฟู 3) การฝึกอาชีพ และ 4) การติดตามช่วยเหลือ ผลของการนำรูปแบบไปปฏิบัติ (1) คะแนนเฉลี่ยระดับความเครียดของผู้ใช้ยาเสพติดหลังใช้รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (<em>M </em>= 7.4, <em>SD</em> = 2.0) ต่ำกว่าก่อนได้รับ (<em>M</em> = 12.1, <em>SD</em> = 4.1) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05. คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตผู้ใช้ยาเสพติดหลังหลังใช้รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (<em>M</em> = 106.0, <em>SD</em> = 7.72) สูงกว่าก่อนได้รับ (<em>M</em> = 96.13, <em>SD</em> = 11.31) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) อัตราการบำบัดครบตามเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 100 (3) อัตราการ หยุดเสพต่อเนื่อง 1 เดือน 3 เดือน คิดเป็นร้อยละ 80 และ 66.66 ตามลำดับ</p> <p>สรุป การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ผ่านรับการบำบัดเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดี ได้รับการยอมรับจากครอบครัวและชุมชนมากขึ้น ควรมีการขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ ปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่</p> 2023-12-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/266028 การพัฒนารูปแบบการจัดการของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล 2023-09-20T17:04:43+07:00 ธัญพร สมันตรัฐ [email protected] <p>การวิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการจัดการของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว โดยสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 ออกแบบรูปแบบการจัดการของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน และทดสอบคุณภาพของรูปแบบฯ โดยการทดลองกับกลุ่มขนาดเล็ก จำนวน 10 คน และนำผลการทดลองมาปรับปรุงรูปแบบ ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ และระยะที่ 4 การประเมินผลรูปแบบ เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง ระยะที่ 3 และ 4 กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ และ 3) แบบสอบถามความสามารถของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่า 1.00, 1.00, 0.67 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.87 และ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired t-test และวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน ประกอบด้วย 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) การดูแลโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวใช้คู่มือสำหรับครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน 5 ด้าน 2) กรณีพบปัญหาขอรับคำปรึกษาจากหมอครอบครัวประจำชุมชน ผลการใช้รูปแบบพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ และความสามารถของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.05)</p> <p>สรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ สามารถนำไปวางแผนส่งเสริมพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากรในการให้คำแนะนำครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ โดยจัดทำคู่มือฉบับสมบูรณ์สำหรับครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้านต่อไป</p> 2023-12-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/266251 ปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคเรื้อรังที่มารับบริการในคลินิกอายุรกรรมโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 2023-09-29T17:08:04+07:00 วัชราภรณ์ เปาโรหิตย์ [email protected] ธัญรดี ปราบริปู [email protected] กิตติยา มหาวิริโยทัย [email protected] ฉัตรวารินทร์ บุญเดช [email protected] <p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการใช้ยาและเปรียบเทียบปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ที่มารับบริการในคลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามปัญหาการใช้ยาของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.90 หาค่าความเที่ยงของเครื่องมือวิจัยโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ เปรียบเทียบปัญหาการใช้ยาจำแนกตามสถานภาพสมรส ชนิดยาที่ใช้ และจำนวนโรค โดยใช้ t-test และจำแนกตามอายุโดยใช้สถิติ f-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 60-69 ปี ร้อยละ 59.38 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 35.94 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 48.40 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 79.70 จำนวนชนิดยาที่ใช้มากกว่า 5 ชนิด ร้อยละ 34.40 ปัญหาการใช้ยาที่พบเป็นประจำ เมื่อมาพบแพทย์ตามนัด ลืมนำยาที่ใช้ประจำที่เหลืออยู่ติดตัวมาด้วย ร้อยละ 48.40 การลืมรับประทานยาร้อยละ 25.00 เมื่อลืมรับประทานยา จะรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ ร้อยละ 25.00 พบปัญหาบางครั้งคือลืมรับประทานยาบางมื้อ ร้อยละ 57.80 รู้สึกเบื่อหน่ายที่ต้องรับประทานยา 28 คน ร้อยละ 43.80 พบปัญหาน้อยมาก คือ รับประทานยาผิดขนาด ร้อยละ 96.90 และเพิ่มขนาดยารักษาประจำตัวบางอย่างเองเพื่อให้การรักษาได้ผลเร็ว ร้อยละ 96.90 เปรียบเทียบโดยจำแนกตามอายุพบว่าผู้สูงอายุที่อายุ 80 ปีขึ้นไป มีปัญหาการใช้ยามากกว่าอายุ 60-69 ปี และ 70-79 ปี (f=3.13, <em>p</em>&lt;0.05) ผู้ที่อยู่ลำพังมีปัญหาการใช้ยามากกว่าผู้ที่อยู่กับคู่สมรส (t=2.19, <em>p</em>&lt;0.05) ผู้ที่มีโรค 2 โรคขึ้นไปมีปัญหาการใช้ยามากกว่าผู้สูงอายุที่มีโรค 1-2 โรค (t=1.56, <em>p</em>&lt;0.05) และผู้ที่ใช้ยา 2 ชนิดขึ้นไป มีปัญหาการใช้ยามากกว่าผู้ที่ใช้ยา 1-2 ชนิด (t=1.42, <em>p</em>&lt;0.05) </p> <p>ข้อเสนอแนะ ผู้สูงอายุที่อายุ 80 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ตามลำพัง มีโรค 2 โรคขึ้นไป และใช้ยา 2 ชนิดขึ้นไปควรมีผู้ดูแลโดยการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการยาอย่างใกล้ชิด ร่วมกับการเยี่ยมบ้านและการกำกับติดตามการใช้ยา</p> 2023-12-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/266740 การพัฒนาระบบการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ ตำบลตาเบา จังหวัดสุรินทร์ 2023-10-24T09:30:31+07:00 โฉมศรี ถุนาพรรณ์ [email protected] <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research [PAR]) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ และศึกษาผลของระบบการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และระยะที่ 3 ประเมินสรุปผลและถอดบทเรียน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) (ชุดนักสืบ) เป็นผู้ช่วยวิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของชุมชนนำร่องที่เลือกแบบเจาะจงจำนวน 87 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติทดสอบที(Paired t-test) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนภาวะเสี่ยงการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงก่อน-หลังเข้าร่วมระบบการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาที่มีส่วนประกอบสำคัญได้แก่ Skills, Structure, Strongly Leadership, Social Relationship, Attitude (4’SA MODEL) และผลการเปรียบเทียบคะแนนภาวะเสี่ยงการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงก่อนและหลังการพัฒนาระบบการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า ตัวอย่างมีคะแนนภาวะเสี่ยงการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 </p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรมีการขยายผลนำรูปแบบไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่จะเกิดในชุมชนต่อไป</p> 2023-12-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/266463 ปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ 2023-10-11T14:07:19+07:00 โอทนี สุวรรณมาลี [email protected] <p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและระดับความรุนแรง ปัจจัยเสี่ยง และผลของภาวะโลหิตจางต่อการคลอดในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ ประชากร จำนวน 250 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และมาคลอดที่ห้องคลอดโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 180 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน ทะเบียนการฝากครรภ์ และทะเบียนคลอด ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและข้อมูลปัจจัยเสี่ยงและผลของภาวะโลหิตจางต่อการคลอดในหญิงตั้งครรภ์ด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติคแบบทวิ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของภาวะโลหิตจางในการฝากครรภ์ครั้งแรก ไตรมาสสาม และระยะคลอด คือ ร้อยละ 48.89, 40.56 และ 15 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่มีภาวะโลหิตจางอยู่ในระดับเล็กน้อย ร้อยละ 36.11, 30.56, 10 ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ คือ ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์สูงกว่าปกติ (Adj.OR = 2.284, 95% CI [1.15, 4.50]) อายุครรภ์ขณะฝากครรภ์ครั้งแรก ³ 12 สัปดาห์ (Adj.OR = 3.579, 95% CI [1.81,7.05]) ซึ่งสามารถทำนายโอกาสเกิดภาวะโลหิตจางได้ร้อยละ 27.1 และภาวะโลหิตจาง ไตรมาสสามมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดถึง 2.365 เท่า และทารกน้ำหนักตัวน้อย 5.359 เท่า</p> <p>สรุปได้ว่า ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ยังเป็นปัญหาสำคัญ ควรมีการประเมินคัดกรองปัจจัยเสี่ยง และรณรงค์ให้ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เพื่อให้ได้รับการรักษาและการดูแลที่เหมาะสมต่อไป</p> 2023-12-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/266760 ผลของโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ 2023-10-25T09:30:21+07:00 ทรรศนีย์ พูลผล [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัดผลก่อน-หลังการทดลอง แบบ 2 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากรายชื่อผู้ป่วยเพื่อจัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพ และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง ซึ่งมีค่า CVI อยู่ระหว่าง 0.72 - 0.94 และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค อยู่ระหว่าง 0.70 - 0.87 และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพ ได้ค่า CVI ที่เท่ากับ 0.94 ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2566 ถึงเดือนสิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก (<em>M </em>= 43.50, <em>SD </em>= 4.24) และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (<em>t</em>=-19.373, <em>p</em>-value &lt;.001) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเอง สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (<em>t</em>=-6.919, <em>p</em>-value &lt;.001)</p> <p>การศึกษานี้เสนอแนะว่า ควรนำวิธีการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพตามโปรแกรมที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นไปเป็นแนวทางในการให้การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองเพื่อควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้</p> 2023-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/266616 ปัจจัยทำนายสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง จังหวัดสงขลา 2023-10-17T16:54:10+07:00 ผาณิต หลีเจริญ [email protected] ยุวนิดา อารามรมย์ [email protected] จารุณี วาระหัส [email protected] ณัชชา สังขภิญโญ [email protected] ลักษณา หวัดเพ็ชร [email protected] <p>การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง จังหวัดสงขลา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 260 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครซี่และมอร์แกน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อธิบายโมเดลความความสัมพันธ์ของตัวแปรทำนายสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยใช้สถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบการนำตัวแปรเข้าทั้งหมดในครั้งเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้ (r = 0.20, <em>p</em>-value ≤ 0.001) ทัศนคติ (r = 0.33, <em>p</em>-value ≤ 0.001) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การรับรู้นโยบาย (r = 0.49, <em>p</em>-value ≤ 0.001) และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (r = 0.50, <em>p</em>-value ≤ 0.001) และปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม (r = 0.48, <em>p</em>-value ≤ 0.001) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และโมเดลสมการถดถอยแสดงให้เห็นว่า ความรู้ (β = 0.11, <em>p</em>-value ≤ 0.05) ทัศนคติ (β = 0.16, <em>p</em>-value ≤ 0.05) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (β = 0.27, <em>p</em>-value ≤ 0.001) และแรงสนับสนุนทางสังคม (β = 0.24, <em>p</em>-value ≤ 0.001) สามารถทำนายสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้ ร้อยละ 33 (R<sup>2 </sup>= 33, F = 27.54) ผลการวิจัยสามารถนำเป็นแนวทางในการสร้างโปรแกรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อไป</p> 2023-12-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/266700 ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จริงต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้กระบวนการพยาบาลและการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในสภาวการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 2023-10-24T11:22:19+07:00 พัชรินทร์ วรรณทวี [email protected] จิรสุดา ทะเรรัมย์ [email protected] <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จริงต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้กระบวนการพยาบาลและการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในสภาวการณ์ระบาดของโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ จำนวน 103 คน โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือการวิจัย คือ คู่มือการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้กระบวนการพยาบาลและแบบสอบถามการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลมีค่าความเชื่อมั่น 0.98 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียวแบบวัดซ้ำ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าหลังทดลองทันที นักศึกษาพยาบาลศาสตร์มีค่าเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้กระบวนการพยาบาล และการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.001) ที่หลังทดลอง 4 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้กระบวนการพยาบาล และการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลสูงกว่าก่อนเรียนและหลังเรียนทันทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.001)</p> <p> สรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนรู้ในสถานการณ์จริงสามารถส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้กระบวนการพยาบาลและการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลได้</p> 2023-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/266751 การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2023-10-24T13:29:09+07:00 อติญาณ์ ศรเกษตริน [email protected] สุทธานันท์ กัลกะ [email protected] ทัศนีย์ เกริกกุลธร [email protected] อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ [email protected] อัจฉรา สุขสำราญ [email protected] <p>การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนผู้บริหารทั้งจากมหาวิทยาลัย สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และจากวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มละ 15 คน รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จนข้อมูลมีความอิ่มตัว และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัย การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมนักศึกษาสำหรับรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมถึงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อการเรียนออนไลน์ และการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อการฝึกปฏิบัติงาน 2) การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ การเรียนรู้ออนไลน์ การเรียนรู้ในสถานการณ์เสมือนจริง การฝึกปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์จำลองเสมือนจริงระดับสูง และการพยาบาลผ่านเครื่องมือสื่อสารหรือแอปพลิเคชัน 3) ความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ครอบคลุมความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทางออนไลน์ ความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในสถานการณ์เสมือนจริงในห้องปฏิบัติการหุ่นจำลองเสมือนจริงขั้นสูง และความต้องการอุปกรณ์ป้องกันในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์จำลองเสมือนจริงระดับสูงเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ</p> 2023-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์