TY - JOUR AU - หลังย่าหน่าย, ฟารีดา AU - ยะฝา, ลลิตา AU - นารีเปน, ชารีฟ๊ะ AU - ดวงตา, ยุภาดา AU - สิงห์วีรธรรม, นภชา AU - เนาว์สุวรรณ, กิตติพร PY - 2021/12/03 Y2 - 2024/03/29 TI - การรับรู้ภาวะคุกคามอาการสมองเสื่อมในผู้สูงอายุตอนต้น ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล JF - ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ JA - bcnsurin VL - 11 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/246146 SP - 96-108 AB - <p>&nbsp; ประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อมเฉลี่ยร้อยละ 2-10 จากการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุพื้นที่ตำบลควนโดน พบว่า มีผู้สูงอายุที่สงสัยภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 13.9 การวิจัยเชิงพรรณนา&nbsp; ครั้งนี้ เพื่อศึกษาการรับรู้ภาวะคุกคามอาการสมองเสื่อม (การรับรู้โอกาสเสี่ยง/การรับรู้ความรุนแรง) ในผู้สูงอายุตอนต้น ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จำนวน 128 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิจากนั้นสุ่มอย่างง่ายโดยการหยิบฉลากแบบไม่คืนที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ภาวะคุกคามอาการสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ระหว่าง .67–1.00 แล้วนำมาทดลองใช้ จำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Independent t-test</p><p>&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ภาวะคุกคามอาการสมองเสื่อมในผู้สูงอายุตอนต้น มีระดับการรับรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (<em>M</em> = 3.18, <em>SD</em> = 0.21) ทั้งนี้ผู้สูงอายุที่มีเพศและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างกัน จะมีการรับรู้ภาวะคุกคามอาการสมองเสื่อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้สูงอายุเพศหญิงและมีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะมีการรับรู้มากกว่าผู้สูงอายุเพศชายและไม่มีโรคเรื้อรัง</p><p>&nbsp; ข้อเสนอแนะควรส่งเสริมการรับรู้ภาวะคุกคามอาการสมองเสื่อมโดยเน้นเรื่องการรับรู้ โอกาสเสี่ยงของโรค ความรุนแรงของโรคในกลุ่มผู้สูงอายุทุกเพศ รวมทั้งผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว และควรศึกษาในวัยก่อนผู้สูงอายุ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุต่อไป</p> ER -