TY - JOUR AU - สันจร, นภัสวรรณ PY - 2020/12/25 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของการใช้ชุดการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อจำนวนครั้งการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเข้ารับการตรวจรักษาซ้ำ การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน และการกลับเข้ามารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง JF - ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ JA - bcnsurin VL - 10 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/244569 SP - 54-6ุ8 AB - <p>&nbsp; &nbsp; การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design)&nbsp;นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อจำนวนครั้งการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเข้ารับการตรวจรักษาซ้ำ การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน และการกลับเข้ามารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 2 โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ.2562 - เมษายน พ.ศ. 2563 จำนวน 27 รายเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และชุดการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่สร้างตามกรอบแนวคิดทฤษฎีระบบของเบอร์ทาแลนไฟและการวางแผนจำหน่ายรูปแบบ D-METHOD ของกองการพยาบาลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตินอนพาราเมตริก (Non-parametric statistics) ทดสอบโดย Wilcoxon Signed Rank Test</p><p>&nbsp; &nbsp;กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 69.81 ปี มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา (51.9%) ประกอบอาชีพเกษตรกร (40.7%) สถานภาพสมรสคู่ (70.4%) มีโรคประจำตัว 2 โรค (33.3%) เคยเข้ารับการรักษาครั้งล่าสุดในแผนกผู้ป่วยในเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมาด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (25.9%) ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (96.3%) สาเหตุการเข้ารับการรักษาส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น ควัน (29.6%) สาเหตุรองลงมาคือจากการขาดยา (25.9%) และสภาพอากาศ (25.9%) ผู้ป่วยร้อยละ 77.8 มีผู้ดูแลโดยมีประวัติการสูบบุหรี่ในอดีต (97.4%) ระยะเวลาเฉลี่ยในการสูบบุหรี่ 25.5 ปี ปริมาณการสูบบุหรี่เฉลี่ย 20.2 มวน/วัน ส่วนการสูบบุหรี่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ร้อยละ 98.5 เลิกสูบบุหรี่แล้ว ระยะเวลาในการเลิกสูบบุหรี่โดยเฉลี่ย 16.2 ปี และวิเคราะห์ผลการใช้ชุดการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังใช้ชุดการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยใช้ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการศึกษาพบว่าการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเข้ารับการตรวจรักษาซ้ำ การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน และการกลับเข้ามารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังลดลงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ดังนั้นควรมีการศึกษาวิจัยการนำชุดการวางแผนจำหน่ายไปพัฒนาในการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มอื่นต่อไป</p> ER -