TY - JOUR AU - เหลืองรัตนมาศ, ลัดดา AU - โมกขาว, กัญญาวีณ์ AU - ยุวพัฒนวงศ์, นิศารัตน์ AU - นิรมาล, สิริวรรณ AU - ประกาทานัง, ปวีณา PY - 2020/12/21 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของโครงการสร้างสรรค์ ชวน เชิญ เลิกบุหรี่ทั่วไทย ระดับอำเภอ เขตสุขภาพที่ 6 JF - ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ JA - bcnsurin VL - 10 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/240007 SP - 1-14 AB - <p>&nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อติดตามผลของโครงการส่งเสริมดำเนินงานสร้างสรรค์ ชวน เชิญ เลิกบุหรี่ทั่วไทยเพื่อขับเคลื่อนโครงการ “3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน” ระดับอำเภอในเขตสุขภาพที่ 6 โดยประเมินรูปแบบซิป เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณในกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้บริหารระดับจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวคำถามสำหรับสนทนากับผู้ให้ข้อมูล และแบบสอบถามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์</p><p>&nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยในปัจจัยทั้ง 4 ด้าน พบว่า 1) ด้านบริบท บางอำเภอมีการกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการลด ละ เลิกบุหรี่ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ผู้บริหารโครงการมีความแตกต่างกันไปในแต่ละอำเภอ บางอำเภอมีสาธารณสุขอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ แต่มีบางอำเภอที่มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบงานด้านบุหรี่ดำเนินการ 3) ด้านกระบวนการ ผู้ดำเนินโครงการมีแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเชิญชวนผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ ได้แก่ สร้างความเข้าใจที่ตรงกันในทุกระดับของผู้ปฏิบัติ การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ การสนับสนุนการสร้างบุคคลต้นแบบ ส่งเสริมให้มีนวัตกรรมเลิกบุหรี่ จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลิกบุหรี่ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอำเภอ และผลักดันเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการ พชอ. ส่วนผู้สมัครใจเลิกบุหรี่มีการคิดวิเคราะห์ถึงโทษพิษภัยของบุหรี่ที่มีต่อตนเองและครอบครัว ด้านผลผลิต ผู้สมัครใจเลิกบุหรี่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้โดยใช้กระบวนการประเมินสิ่งแวดล้อมซึ่งมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (<em>M</em> = 3.91, <em>SD</em> = 0.79) 4) ผู้สมัครใจเลิกบุหรี่จำนวน 6,702 คน เลิกบุหรี่ได้ 3 เดือนจำนวน 898 คน คิดเป็น&nbsp;&nbsp;&nbsp; ร้อยละ 13.40 แต่มี 2 อำเภอที่มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายร้อยละ 30 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยที่สนับสนุนให้การดำเนินโครงการของแต่ละอำเภอสำเร็จขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละพื้นที่ การสนับสนุนจากผู้บริหาร การส่งเสริมให้สร้างนวัตกรรมช่วยเลิกบุหรี่ในรูปแบบต่างๆ เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้สมัครใจเลิกบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ รวมไปถึงการเสริมพลังให้คณะทำงานในระดับพื้นที่ได้มีโอกาสทบทวนเป้าหมายและสิ่งที่ทำ นอกจากนี้ยังควรกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดและการประเมินผลการดำเนินงาน มีการสร้างเครือข่ายการทำงานในพื้นที่</p> ER -