@article{เอกธรรมสุทธิ์_เจริญศรีเมือง_2021, place={Surin, Thailand}, title={แนวทางการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPiest ในการประเมินโครงการทางสุขภาพ}, volume={11}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/247924}, abstractNote={<p>ปัญหาสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ ดังนั้นจึงเป็นบทบาทสำคัญของบุคลากรทางสุขภาพในการจัดทำโครงการต่างๆเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น การประเมินผลโครงการเป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะช่วยประเมินความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมหรือโครงการต่างๆที่กำลังดำเนินการ และเพื่อพิจารณาว่ากิจกรรมนั้นๆมีประสิทธิภาพเพียงใด รวมทั้งช่วยวิเคราะห์ความสอดคล้องของโครงการว่าตรงกับความต้องการของผู้รับบริการหรือไม่ รูปแบบการประเมิน CIPPiest เป็นรูปแบบการประเมินหนึ่งที่เหมาะสมในการประเมินโครงการทางสุขภาพ เพราะเป็นรูปแบบการประเมินที่เป็นระบบมีกระบวนการประเมินที่เป็นลำดับขั้นตอนชัดเจน มีความเป็นพลวัตร ข้อมูลได้จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลายทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จึงสอดคล้องบริบทของโครงการทางสุขภาพที่ต้องอาศัยความมีส่วนร่วมของมีที่ผู้เกี่ยวข้องหลายระดับการดำเนินโครงการจึงจะประสบความสำเร็จ รูปแบบการประเมิน CIPPiest ประกอบด้วย การประเมินหลักใน 4 มิติ ได้แก่ การประเมินบริบท (Context) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) การประเมินกระบวนการ (Process) และการประเมินผลผลิต (Product) ซึ่งต่อมามีการขยายกรอบการประเมินผลผลิตเป็น 4 มิติย่อยเพื่อให้ครอบคลุมและเกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การประเมินผลกระทบ (Impact) ประเมินประสิทธิผล (Effectiveness) ประเมินการคงอยู่ (Sustainability) และการประเมินการถ่ายโยงความรู้ (Transition) โดยในแต่ละมิติของการประเมินจะมีรายละเอียดเพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจและสามารถนำแนวทางการประเมิน CIPPiest ไปใช้ประเมินโครงการทางสุขภาพให้ประสบผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้</p>}, number={2}, journal={ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์}, author={เอกธรรมสุทธิ์ นฤมล and เจริญศรีเมือง สิรารักษ์}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={137–138} }