@article{สมานมิตร_2019, place={Surin, Thailand}, title={ผลการสอนแบบมีแบบแผนต่อการรับรู้ของมารดาหลังคลอดในการดูแลทารก}, volume={6}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/198521}, abstractNote={<p>         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของมารดาหลังคลอดในการดูแลทารก  กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดที่มารับบริการที่แผนกหลังคลอด จำนวน 60 ราย การสุ่มแบบอย่างง่ายโดยการจับฉลากแบบไม่คืนที่เป็น 2 กลุ่มคือ มารดาวัยรุ่น และมารดาผู้ใหญ่ กลุ่มละจำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามการรับรู้ในการดูแลทารกซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธี ครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2558 – วันที่ 31 มกราคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Independent t test </p> <p>         ผลการวิจัยพบว่า มารดาวัยรุ่นหลังคลอดมีการรับรู้อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 10 และระดับสูง  ร้อยละ 90 มารดาหลังคลอดวัยผู้ใหญ่มีการรับรู้ในระดับปานกลางร้อยละ 6.7 และระดับสูงร้อยละ 93.3 เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้ต่อการดูแลทารกหลังการสอนระหว่างมารดาวัยรุ่นและมารดาวัยผู้ใหญ่หลังคลอด พบว่าคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ</p> <p>        จากการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าควรมีการให้ความรู้และเน้นในเรื่องเกี่ยวกับน้ำนมที่มีลักษณะสีเหลืองควรให้ทารกดูดให้มากที่สุดเพราะมีสารภูมิคุ้มกันโรคในปริมาณสูง และมารดาควรปลุกหรือกระตุ้นให้ทารกดูดนมทุก 2 ชั่วโมง ทั้งมารดาวัยรุ่น และมารดาวัยผู้ใหญ่หลังคลอด และควรมีการส่งต่อข้อมูลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และอสม. ให้การติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของมารดาหลังคลอดให้มีการดูแลบุตรที่ถูกต้องอย่างมีประสิทธิภาพ</p>}, number={2}, journal={ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์}, author={สมานมิตร จันทร์ธิดา}, year={2019}, month={มิ.ย.}, pages={1–9} }