วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp <p>วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ เป็นวารสารวิชาการและการวิจัย ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการทางสุขภาพและที่เกี่ยวข้องของนักวิชาการ พยาบาล บุคลากรทางสุขภาพ และทางการศึกษา รวมทั้งนักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา และองค์กรสุขภาพทั่วประเทศ</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์&nbsp; ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์&nbsp; และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ&nbsp; ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง</p> [email protected] (ดร.สาดี แฮมิลตัน) [email protected] (นางสาวสิรภัทร โจมสติ) Mon, 26 Feb 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2: กรณีศึกษา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/266451 <p>โรคเบาหวาน เป็นโรคเกิดจากการเผาผลาญที่ทำงานผิดปกติทำให้ร่างกายเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งมีผลมาจากการขาดอินซูลิน หรืออาจเกิดจากความผิดปกติในการออกฤทธิ์ของอินซูลินที่อยู่ในตับอ่อนเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย<strong> </strong>พยาบาลผู้ปฏิบัติหน้าที่งานผู้ป่วยนอกจะต้องใช้องค์ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการจัดการภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการดูแลตนเอง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการดำเนินของโรค กระบวนการรักษาและการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 2 ราย ที่มีภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวานและดำเนินการศึกษาเป็นเวลา 6 เดือน (กันยายน 2565 – มีนาคม 2666)</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> กรณีศึกษาที่ใช้ในการศึกษานี้ประกอบด้วยผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน 2 ราย เพศชาย อายุ 44 ปี และ 69 ปี ได้รับการประเมินอย่างเป็นองค์รวม (Primary and secondary triage) รายแรกเป็นเบาหวานมา 3 ปี ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ มีภาวะไตรั่ว ได้รับการรักษานอนโรงพยาบาล ในรายกรณีที่ 2 เป็นเบาหวานมา 15 ปี มีภาวะน้ำตาลต่ำตอนกลางคืนติดต่อกัน ได้รับการปรับยาฉีดเบาหวาน ปัญหาการพยาบาลแบ่งเป็น ระยะแรกรับ ระยะต่อเนื่อง และระยะจำหน่าย ผลลัพธ์ที่ได้จากการดูแลผู้ป่วย ทั้งสองราย พบว่า ผู้ป่วยทั้งสองปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลที่เหมาะสม ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในคลินิกโรคเรื้อรังต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถจัดการตนเองเพื่อควบคุมและจัดการอาการ รวมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังได้</p> นิพพาภัทร์ สินทรัพย์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/266451 Thu, 25 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/267972 <p>การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และศึกษาผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ระหว่าง 1 เมษายน พ.ศ. 2565 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 60 คน โดยระยะที่ 1 จำนวน 20 คน ระยะที่ 2-3 จำนวน 60 คน และผู้ป่วย30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) คำถามการสนทนากลุ่ม 2) รูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยฯ คือ “YASO-PCN-CARE Model” เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ 1) ประเมินการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากร 3) แบบสอบถามความสามารถในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้นำไปทดลองใช้ ได้ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.81, 0.79, 0.83 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพรรณนา ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบใช้สถิติ Pair t test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง คือ “YASO-PCN-CARE Model” ประกอบด้วย จัดโครงสร้าง วางเป้าหมาย ดูแลแบบองค์รวม ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีแนวทางปฏิบัติ สร้างช่องทางสื่อสาร ทำงานเป็นทีมและสร้างเครือข่าย นิเทศทางคลินิก วางแผนดูแล แบ่งปันทรัพยากร ตรวจสอบทบทวน ประเมินผลและพัฒนา และ 2) ผลของรูปแบบ พบว่า (1) ความพึงพอใจของบุคลากรโดยรวมในระดับสูง (Mean=4.75, S.D.=0.45) (2) ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยฯ หลังดำเนินการอยู่ในระดับสูงมาก (Mean=4.68, S.D.=0.14) สูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (3) ความพึงพอใจของครอบครัวมีต่อรูปแบบฯ ภาพรวมอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.37, S.D. = 0.54) (4) พฤติกรรมการปฏิบัติตามรูปแบบฯ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.41, S.D. =.54) และ (5) Family meeting และ Advance care planning หลังใช้ ร้อยละ 100</p> <p><strong>สรุป</strong>: รูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ง่ายต่อการปฏิบัติ บุคลากรมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วย และครอบครัวมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ</p> นาถฤดี สุลีสถิร , กลอยใจ แสนวงษ์, บงกชรัตน์ ยานะรมย์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/267972 Thu, 29 Feb 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับพยาบาลจิตเวช: การบำบัดทางสังคมจิตใจในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/268111 <p>พยาบาลจิตเวชเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลแนวปฏิบัติทางคลินิกการบำบัดทางสังคมจิตใจในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสำหรับพยาบาลจิตเวช โดยวัดผลลัพธ์อาการซึมเศร้า การหายทุเลา วันนอนในโรงพยาบาล การกลับมารักษาซ้ำ พยาบาลจิตเวชมีความพึงพอใจและมั่นใจในการนำไปใช้ รูปแบบการวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ คือ 1) การพัฒนาแนวปฏิบัติตามแนว GRADE 2) ทดลองใช้และปรับปรุง โดยทดลองใช้กับพยาบาลจิตเวช 5 คน และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ที่มีอาการระดับเล็กน้อยขึ้นไป 15 คน ประเมินผลด้วยแบบประเมินอาการโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) 3) ประเมินผลด้วยการวิจัยกึ่งทดลองกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 44 คน และพยาบาลจิตเวช 10 คน ที่มีคุณสมบัติเดียวกันกับระยะที่ 2 แต่ไม่ซ้ำกลุ่มกัน ติดตามประเมินผลในระยะ 2 และ 6 เดือน และความพึงพอใจและมั่นใจในการนำไปใช้ของพยาบาลจิตเวช วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ การทดสอบไคสแควร์ และแมนวิทนีย์ยู และ 4) ปรับปรุงและนำไปใช้ ผลการศึกษาได้แนวปฏิบัติทางคลินิกตามระดับความรุนแรงของอาการ มีคำแนะนำเข้มแข็งและหลักฐานคุณภาพสูง การบำบัดทางสังคมจิตใจมีคำแนะนำเข้มแข็งและหลักฐานคุณภาพปานกลางสำหรับอาการเล็กน้อย ถึงปานกลางควรบำบัดด้วยโปรแกรมการออกกำลังกาย แก้ไขปัญหา จิตบำบัดประคับประคอง กระตุ้นพฤติกรรม หวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข การเจริญสติตระหนักรู้ความคิด บำบัดความคิดและพฤติกรรม และจัดการตนเอง และอาการปานกลางควรบำบัดด้วยการดูแลแบบผสานความร่วมมือในการดูแลระหว่างวิชาชีพ บำบัดความคิดและพฤติกรรม และมีคำแนะนำเข้มแข็งและหลักฐานคุณภาพสูงสำหรับอาการปานกลางถึงรุนแรงควรบำบัดด้วยโปรแกรมความคิดและพฤติกรรม และเจริญสติตระหนักรู้ความคิด</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> หลังการนำแนวปฏิบัติฯ ไปทดลองใช้พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนอาการซึมเศร้าลดลง อัตราการหายทุเลาแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญสถิติ (p&lt;. 05) และไม่กลับเป็นซ้ำในเวลา 2 และ 6 เดือน พยาบาลจิตเวชมีความพึงพอใจและมั่นใจในการนำไปใช้เพิ่มขึ้น การกลับมารักษาซ้ำ และวันนอนในโรงพยาบาลลดลง</p> จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน , สุพัตรา สุขาวห , เกษราภรณ์ เคนบุปผา, หทัยรัตน์ สายมาอินทร์, ไพรัตน์ ชมภูบุตร , สุปราณี พิมพ์ตรา Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/268111 Tue, 27 Feb 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลนครพนม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/268171 <p>อุบัติการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดยังพบเพิ่มสูงขึ้นถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีความก้าวหน้าในการรักษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 2) การนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในหน่วยบริการพื้นที่ศึกษา และ 3) การประเมินผลการพัฒนาจากการประเมินความรู้และการปฏิบัติติของพยาบาลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์การดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ 180 คน ผู้ป่วยจำนวน 108 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 2) แบบประเมินความคิดเห็นและความพึงพอใจของพยาบาลหลังการใช้รูปแบบการพยาบาล 3) แบบประเมินความรู้และแบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางของพยาบาล และ 4) แบบบันทึกผลลัพธ์การดูแล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง Wilcoxon Signed-Rank Test ในกรประเมินความรู้และการปฏิบัติ และไคสแควร์ในการประเมินผลลัพธ์การดูแล</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> พบว่า 1) ได้รูปแบบการพยาบาลที่ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ (1) คู่มือแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยระบุขอบเขตจุดประสงค์และการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล (2) กิจกรรมการพยาบาล 7 ด้าน 55 ข้อกิจกรรม และ (3) นโยบายและคำสั่งบทบาทหน้าที่ของพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในการปรับปรุงและพัฒนาระบบบริการ 2) ด้านผลลัพธ์ ความรู้ของพยาบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58 เป็น 68 การปฏิบัติตามแนวทาง ร้อยละ 98 และความพึงพอใจการใช้รูปแบบการพยาบาล ร้อยละ 86 ผลลัพธ์การดูแล พบว่า การเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อลดจากร้อยละ 33 เป็น 5.6 การเจาะเลือดเพาะเชื้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22 เป็น 91 การได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37 เป็น 83 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;. 00) การประเมินอาการเตือนล่วงหน้าเพิ่มจากร้อยละ 22 เป็น 52 และอัตราการเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 16.7 เป็น 11.1 นอกจากนี้ ร้อยละ 99 ของพยาบาลเห็นว่าในรูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาสามารถนำไปใช้ได้จริง และร้อยละ 86 มีความพึงพอใจในรูปแบบฯ สรุปว่ารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่พัฒนาขึ้นนำไปปฏิบัติได้จริง และช่วยลดการเกิดภาวะช็อกในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดซึ่งเป็นผลลัพธ์ทางการพยาบาลได้ พยาบาลมีแนวทางหรือระเบียบปฏิบัติในการให้การพยาบาลผู้ป่วย</p> ณัฎฐ์ฎาพร ศรีประดิษฐ์, เพ็ญจุรี แสนสุริวงศ์, อรรจจิมา ศรีชนม์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/268171 Fri, 08 Mar 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บสิ่งส่งตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA ระหว่างเจ้าหน้าที่และเก็บด้วยตนเองในจังหวัดกำแพงเพชร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/268431 <p>การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นด้วยวิธี HPV DNA test โดยวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้ผู้หญิงไทยเข้าถึงการตรวจคัดกรองได้ง่ายขึ้น การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test ระหว่างเจ้าหน้าที่ และการเก็บด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลเวชระเบียนของกลลุ่มตัวอย่างที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 16,104 คน โดยเป็นกลุ่มที่เก็บสิ่งส่งตรวจโดยเจ้าหน้าที่ 15,109 ราย และเก็บด้วยตนเอง 995 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกข้อมูลผลการตรวจ HPV DNA testing (HPV-16 และ/หรือ HPV-18 หรือ HPV อื่น ๆ) และผลการตรวจ Colposcopy วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์</p> <p><strong> ผลการศึกษา</strong>: พบว่า ผู้รับบริการมีอายุเฉลี่ย 47.5 ปี ตรวจพบเชื้อ HPV 908 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.64 เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บสิ่งส่งตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test ระหว่างเจ้าหน้าที่เก็บจำนวน 15,109 คน และการเก็บด้วยตนเองจำนวน 995 คน ใช้การทดสอบของฟิชเชอร์ พบว่าการเก็บสิ่งส่งตรวจทั้ง 2 วิธี สามารถวิเคราะห์และรายงานผลได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p value = 1.00) โดยวิธีเก็บด้วยเจ้าหน้าที่รายงานผลได้ร้อยละ 99.94 ส่วนการเก็บด้วยตนเองรายงานผลได้ร้อยละ 100 นอกจากนี้ใช้การทดสอบไคสแควร์เปรียบเทียบผลการตรวจ HPV DNA test พบว่า ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p value = 0.684) โดยตรวจพบผลเป็นบวกร้อยละ 5.62 และ 5.93 ตามลำดับ และผู้ที่ผลการตรวจ HPV DNA test เป็นบวก มีผล Colposcopy ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p value = 0.362) โดยตรวจพบผลเป็นบวกร้อยละ 65.54 และ 76.47 ตามลำดับแสดงให้เห็นว่า การเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตัวเองมีประสิทธิภาพเพียงพอในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นด้วยวิธี HPV DNA test เทียบเท่าเจ้าหน้าที่ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นเพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบายของกรมอนามัยในการเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้สำเร็จตามเป้าหมาย</p> กุลกานต์ พิศอ่อน Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/268431 Thu, 29 Feb 2024 00:00:00 +0700 การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในการปรับปรุงคุณภาพ การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่10 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/268545 <p>การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลผู้จัดการรายกรณี ในการปรับปรุงคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ปฏิบัติงานในคลินิกเบาหวาน หน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 10 ทั้งหมด 68 แห่ง จำนวน 92 คน และเพื่อ 2) เปรียบเทียบการปฏิบัติบทบาทการจัดการรายกรณีระหว่างพยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้จัดการรายกรณี โรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) หลักสูตร 4 เดือน กับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในคลินิกเบาหวาน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 46 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและการปฏิบัติบทบาทการจัดรายกรณี ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.96 ทดสอบความเที่ยงโดยวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที Independent t- test</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: พบว่า พยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) ปฏิบัติบทบาทโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับสูง (Mean = 3.83, S.D. = 0.53) ส่วนพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในคลินิกเบาหวาน ปฏิบัติบทบาทโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.30, S.D.= 0.69) ผลเปรียบเทียบ 2 กลุ่มมีความแตกต่างกัน พยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) มีการปฏิบัติบทบาทในระดับสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในคลินิกเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t<sub>90</sub>= 4.07, p&lt; .001) ดังนั้น ควรสนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เข้ารับการอบรมหลักสูตรเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) หลักสูตร 4 เดือน เพื่อให้มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน นำไปสู่ผลลัพธ์ของการจัดการที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล</p> วนิดา เสนามนต์ , พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/268545 Wed, 13 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ใช้ เครื่องปอดและหัวใจเทียม โรงพยาบาลอุดรธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/269130 <p>การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นการผ่าตัดที่มีความยุ่งยากซับซ้อนและอาจเกิดภาวะวิกฤตถึงแก่ชีวิต การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ 23 คน ผู้ป่วย 30 คน และญาติ 30 คน ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนาระบบบริการพยาบาล และ 3) ประเมินผลลัพธ์ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน 1) เครื่องมือทดลอง ได้แก่ แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด โดยใช้กระบวนการพยาบาล ใบรายการเครื่องมือ/อุปกรณ์ผ่าตัด การให้ความรู้ และนาฬิกาจับเวลา และ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบประเมินความพึงพอใจ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาล ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย ได้เท่ากับ 0.88, 0.97, และ 0.92 ตามลำดับ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินและแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและเชิงปริมาณด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon matched pairs signed rank test</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ปี 2561-2565 พบอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 4.62, 9.35, 5.08, 5.00 และ 8.44 ตามลำดับ และพบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ได้แก่ อัตราการติดเชื้อ อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ และผู้ป่วยถูกเลื่อนคิวผ่าตัดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ เตียง ICU เต็ม และเตรียมเลือดไม่พร้อม หลังการพัฒนาระบบบริการพยาบาลทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ โครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ พบว่า เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) จำนวนการเลื่อนคิวผ่าตัดลดลง ความพึงพอใจต่อระบบของพยาบาล ผู้ป่วย และญาติอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยเสนอแนะระบบบริการพยาบาลควรมีการประสานความร่วมมือกับสหสาขาวิชาชีพ มีการใช้ใบรายการเตรียมเครื่องมือ/อุปกรณ์ผ่าตัด และใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลทั้งก่อน ขณะ และหลังผ่าตัด</p> ทิพย์สุคนธ์ อารยวงศ์ , กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง , วีกุญญา ลือเลื่อง , ภัทราพรรณ อาษานาม , ประเสริฐศักดิ์ เหมะธุลิน Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/269130 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัธยมศึกษา เขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/269891 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัธยมศึกษา เขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน 250 คน โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากร และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความผูกพันในครอบครัว แบบประเมินความผูกพันกับเพื่อน แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นฉบับภาษาไทย (PHQ-A) นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ chi-square test crude odds ratio และ multiple binary logistic กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 12-19 ปี (Mean = 14.9, S.D.=1.8) ความชุกของภาวะซึมเศร้า(PHQ-A≥10) ร้อยละ 43.6 (109 คน) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ โรคประจำตัวของคนในครอบครัว (ORadj = 3.4, 95%CI 1.2-9.4, p=0.021), เคยถูกใช้ความรุนแรงโดยเพื่อน (ORadj = 2.4, 95%CI 1.3-4.5, p=0.008) และ โดยคนในครอบครัว (ORadj = 2.4, 95%CI 1.2-4.8, p = 0.012) และระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง โดยผู้ที่มีระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่ามีระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองปานกลาง (ORadj = 57.3, 95%CI 12.4-265.8, p&lt; 0.001) และผู้ที่มีระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่ามีระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูงเช่นกัน (ORadj = 5.1, 95%CI 2.0-13.4, p = 0.001) และนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้ามีความเสี่ยงที่มีโอกาสจะฆ่าตัวตายสูง 10.8 เท่า (ORadj = 10.8, 95%CI 5.9-19.9, p&lt; 0.001) สรุปผลการศึกษาเสนอแนะให้มีการเฝ้าระวังและหาแนวทางป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นจากทุกภาคส่วนทั้งทางโรงเรียน ครอบครัว ทีมสาธารณสุขและชุมชน</p> วราวรรณ สุทธิประภา , พัชรี ด้วงคำจันทร์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/269891 Thu, 25 Apr 2024 00:00:00 +0700