วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp <p>วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ เป็นวารสารวิชาการและการวิจัย ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการทางสุขภาพและที่เกี่ยวข้องของนักวิชาการ พยาบาล บุคลากรทางสุขภาพ และทางการศึกษา รวมทั้งนักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา และองค์กรสุขภาพทั่วประเทศ</p> วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ th-TH วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2673-0723 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์&nbsp; ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์&nbsp; และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ&nbsp; ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง</p> การประเมินประสิทธิผลของค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/270714 <p>การจัดค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง เป็นกิจกรรมในโครงการ TO BE NUMBER ONE เพื่อให้สมาชิกได้รับการฝึกฝนทักษะการให้คำปรึกษา การพัฒนา EQ และทำกิจกรรมที่สนใจ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้เข้มแข็ง ส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดี ที่จัดต่อเนื่องมา 28 รุ่น แต่ยังไม่มีการติดตามประเมินผลที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาการจัดค่าย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการจัดค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง ด้วยรูปแบบ CIPPIEST Model คือ การประเมินด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ซี่งแยกเป็น 4 มิติย่อย ได้แก่ ผลกระทบ (Impact) ประสิทธิผล (Effectiveness) ความยั่งยืน (Sustainability)การถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) ใช้รูปแบบการศึกษา แบบ Quanti-quali mixed method กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกค่าย อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้รับผิดชอบชมรม วิทยากร และคณะทำงาน รวม 387 คน โดยเก็บข้อมูลจากเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเอง ประกอบด้วย เครื่องมือเชิงปริมาณ คือแบบสอบถามความพึงพอใจต่อโครงการและติดตามประเมินผล สำหรับสมาชิกค่าย สำหรับอาจารย์ สำหรับวิทยากร และคณะทำงาน โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .97 .89 .95 และ .89 ตามลำดับ เครื่องมือเชิงคุณภาพ คือแบบสัมภาษณ์เพื่อติดตามประเมินผล “ค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง” รุ่นที่ 29 สำหรับสมาชิกค่ายและอาจารย์ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามรายข้อตั้งแต่ 0.67 ขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ จำนวน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ <br /><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> พบว่าการประเมินปัจจัยด้านบริบท กระบวนการ และผลผลิต รวมทั้งประเด็นย่อย ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายทอดส่งต่อ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ส่วนปัจจัยนำเข้า เหมาะสมมาก และการประเมินเชิงคุณภาพ พบว่า สมาชิกสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการเข้าค่ายไปใช้ ในการพัฒนาตนเองและเพื่อนๆ เช่น เรียนรู้ในการปรับตัวเข้ากับเพื่อนใหม่ รู้จักการทำงานส่วนรวมมากขึ้น ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ รับฟังความเห็นผู้อื่นมากขึ้น และจัดกิจกรรมพัฒนา EQ ให้สมาชิกในชมรม เป็นต้น และใช้ในการดำเนินงานชมรมและศูนย์เพื่อนใจ ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และต่อยอดไปทำกิจกรรม อื่น ๆ รวมทั้งนำไปปรับใช้เพื่อขยายผลในพื้นที่ด้วย</p> เนตรชนก บัวเล็ก ปัทมา พวงเจริญ นิตยา ฉวยกระโทก โอภาส พละกุล Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-26 2024-06-26 8 2 e270714 e270714 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยโทรเวชกรรม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/271076 <p>การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยเทคโนโลยีโทรเวชกรรม (Telemedicine) ภายใต้กรอบแนวคิดระบบสุขภาพขององค์การอนามัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) บุคลากรสุขภาพที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 30 คน 2) ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีโทรเวชกรรมระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566-เมษายน 2567 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูลการรักษาผู้ป่วย แบบสอบถามความพึงพอใจและแบบวัดประสิทธิผลของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติทดสอบ Paired sample t-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: พบว่าด้านบุคลากรสุขภาพหลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย มีระดับบริหารจัดการ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นเรื่องระบบการเงินอยู่ในระดับปานกลาง ด้านผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (FBS) และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p &lt;.001 ภาพรวมระดับการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยโทรเวชกรรม มีการรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับดีมาก (Mean = 4.60, S.D. = 0.58) กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความง่ายในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยโทรเวชกรรมอยู่ในระดับดี (Mean = 4.05, S.D. = 0.54) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean = 4.07, S.D. = 0.69) หลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น บุคลากรสุขภาพได้รับการสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยระบบเทคโนโลยีโทรเวชกรรมครอบคลุมกรอบแนวคิดระบบสุขภาพ อยู่ในระดับดี ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้สะดวก ประสิทธิผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ต้นทุนในการบริการลดลง ลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ยา โดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถเพิ่มประสิทธิผลในการจัดการโรคเบาหวานทำให้ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจ</p> สุดสาคร ไชยสาร Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 8 2 e271076 e271076