https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2024-11-28T16:40:35+07:00 ดร.สาดี แฮมิลตัน journal@bcnsp.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ เป็นวารสารวิชาการและการวิจัย ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการทางสุขภาพและที่เกี่ยวข้องของนักวิชาการ พยาบาล บุคลากรทางสุขภาพ และทางการศึกษา รวมทั้งนักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา และองค์กรสุขภาพทั่วประเทศ</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/272696 รูปแบบการติดตามและดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้า ด้วยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 2024-10-02T08:57:29+07:00 ปณิดา เพชรรัตน์ sasipa.tara@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบครอบครัวบำบัด สำหรับติดตามและดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้าด้วยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข และศึกษาประสิทธิผล ของรูปแบบดังกล่าว ในอำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 227 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 14 คน และตัวแทนครอบครัวผู้ป่วยซึมเศร้า 54 คน ใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุข ค่าความเชื่อมั่น .84 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการติดตามและดูแลผู้ป่วยซึมเศร้า ค่าความเชื่อมั่น .86 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุข (ค่าความเชื่อมั่น .73) และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยซึมเศร้า ค่าความเชื่อมั่น .87 ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> พบว่า 1) รูปแบบครอบครัวบำบัดมี 4 กิจกรรม ได้แก่ (1) การสนับสนุนด้านอารมณ์ (2) การสนับสนุนด้านการประเมินค่า (3) การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร และ (4) การสนับสนุนด้านเครื่องมือและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 2) ประสิทธิผลของรูปแบบครอบครัวบำบัดพบว่า หลังการทดลองใช้ อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้เกี่ยวกับการติดตามและดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พฤติกรรมการติดตามและดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจ ของอาสาสมัครสาธารณสุขอยู่ในระดับมากและเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยซึมเศร้าต่อการติดตามและดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าอยู่ในระดับมาก</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/273051 ความสัมพันธ์ระหว่างแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2024-10-02T10:46:19+07:00 นงรัตน์ โมปลอด nongrat@bcnnakhon.ac.th สุวิชญา วิริยะศิริกุล suwichaya14@gmail.com บุญประจักษ์ จันทร์วิน ิิิboonprajuk@bcnnakhon.ac.th <p>การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามออนไลน์ ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม การรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม การรับรู้ความสามารถของตนเองในพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม การเข้าถึงอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมสูง แรงสนับสนุนทางสังคมในการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมต่ำ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม ตรวจสอบเครื่องมือด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความสอดคล้อง Item-Objective Congruence (IOC) index ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าแอลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.83, 0.77, 0.81, 0.78, 0.94, 0.89 และทั้งฉบับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสหสัมพันธ์ Spearman rank correlation coefficient </p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: พบว่า การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง และการรับรู้ความสามารถของตนเอง อยู่ในระดับสูง (Mean = 3.74, S.D.= 0.51; Mean = 3.70, S.D.=0.52) ตามลำดับ ส่วนการรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.62, S.D.= 0.61) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การเข้าถึงอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียม อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.85, S.D.= 0.75) ปัจจัยเสริม ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม ในการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.97, S.D.= 0.81) และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.11, S.D.= 0.65) พบว่า การเข้าถึงอาหารและผลิตภัณฑ์ และการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์ในทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r= 0.571 และ 0.459) ตามลำดับ ส่วนแรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์ในทางบวก อยู่ในระดับต่ำ (r= 0.325, 0.299 และ 0.210) ตามลำดับ จากผลการวิจัย หน่วยบริการสาธารณสุขควรนำแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพไปพัฒนาเป็นโปรแกรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/273507 การวิเคราะห์สถานการณ์การบริหารความเสี่ยงทางคลินิกงานบริการหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง 2024-09-23T08:56:57+07:00 นันทยา บัวเรือง nuntaya252028@gmail.com ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา pratyanan.t@psu.ac.th ศศิธร ลายเมฆ pratyanan.t@psu.ac.th <p>ความเสี่ยงในการดูแลผู้ป่วยเป็นความเสี่ยงสำคัญ การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้รับบริการมีความปลอดภัย องค์กรเกิดคุณภาพการดูแลผู้ป่วย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริหารความเสี่ยงทางคลินิกงานบริการหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลเอกชน ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีระบบของ โดนาบิเดียน ด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ ร่วมกับแนวคิดกระบวนการบริหารความเสี่ยงของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพทั้งหมด 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลจากการวิเคราะห์เนื้อหาเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: ด้านโครงสร้าง พบว่า นโยบายการบริหารความเสี่ยงมีความครอบคลุม แต่การสื่อสารนโยบายสู่ผู้ปฏิบัติมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ บุคลากรยังขาดความรู้การบริการความเสี่ยง ด้านกระบวนการบริหารความเสี่ยง พบว่าการระบุความเสี่ยงมาจากขณะปฏิบัติงานสูงสุด การค้นหาความเสี่ยงเชิงรุก ยังไม่ครอบคลุมทุกด้าน การวิเคราะห์ และการรับมือความเสี่ยงมีการแก้ไขเชิงระบบไม่ครอบคลุม การติดตาม และการทบทวนความเสี่ยงปฏิบัติได้ไม่ต่อเนื่อง ด้านผลลัพธ์ พบว่า ด้านการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกที่สำคัญ ยังไม่บรรลุเป้าหมาย สาเหตุจากการปฏิบัติตามแนวทางไม่ครบทุกขั้นตอน ภาระงานที่เพิ่มขึ้น ขาดความตระหนักในการปฏิบัติงาน และมีความรู้ไม่เพียงพอ จึงควรออกแบบการบริหารความเสี่ยง ที่มีการค้นหาความเสี่ยงเชิงรุก การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านความรู้ทางคลินิก ควบคู่กับการบริหารความเสี่ยง และหมุนวงล้อกระบวนการบริหารความเสี่ยงให้เกิดการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพในการดูแลผู้ป่วย ผลการศึกษานี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาล ผู้บริหารทางการพยาบาลทุกระดับ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบการบริหารความเสี่ยงให้เกิดประสิทธิภาพ ทั้งด้านโครงสร้างการบริหาร ความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยง และการติดตามผลลัพธ์การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อไป</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/273164 การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรูปแบบแอปพลิเคชันเรื่องกลไกการคลอดปกติ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต 2024-09-27T14:04:20+07:00 ปัทมาภรณ์ คงขุนทด pinthongmt@gmail.com มนชยา ก้างยาง pinthongmt@gmail.com ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์ pinthongmt@gmail.com พรรณทิพย์ โชมขุนทด เศรษฐาธนโภคิน pinthongmt@gmail.com จงกลนี ตุ้ยเจริญ pinthongmt@gmail.com <p>การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้รูปแบบแอปพลิเคชัน เรื่องกลไกการคลอด ปกติสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต การศึกษาแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและ รูปแบบสื่อการสอน 2) พัฒนาและทดสอบแอปพลิเคชัน 3) นำแอปพลิเคชันไปทดลองสอนจริง และ 4) ประเมินความพึงพอใจ ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี 3 ของวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง จำนวนรวมในทุกขั้นตอนเท่ากับ 74 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แอปพลิเคชันเรื่องกลไกการคลอดปกติ ข้อสอบก่อนและหลังการเรียน (20 ข้อ<strong>,</strong> KR 21 = .77) และแบบประเมินความพึงพอใจ (20 ข้อ<strong>, </strong>α = .87) ซึ่งเครื่องมือผ่านการประเมินความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และพัฒนาปรับปรุงจนข้อคำถามกับวัตถุประสงค์มีค่าความสอดคล้องผ่านเกณฑ์ .50 ทุกข้อมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบค่าเฉลี่ยด้วย Paired Sample t-test และทดสอบประสิทธิภาพสื่อการสอนด้วยสูตร E1/E2</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>:</strong> นักศึกษาต้องการสื่อที่สะดวกในการใช้งาน มีภาพและวิดีโอสั้นประกอบคำอธิบาย ผู้วิจัยได้พัฒนาแอปพลิเคชันจนได้ค่าประสิทธิภาพสื่อการสอน E1/E2 มากกว่าค่าที่กำหนดไว้ คือ 80/80 เมื่อนำไปทดลองสอนพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของผลการทำข้อสอบหลังการทดลอง (Mean = 16.23, S.D. = 1.85) สูงกว่าก่อนทดลอง (Mean = 8.30, S.D. = 2.24) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ; t (29) =-16.153, <em>p</em> = .01 ประสิทธิภาพสื่อการสอนเท่ากับ 80.82/81.17 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้สื่ออยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.64, S.D. = .35) การพัฒนาแอปพลิเคชันครั้งนี้ได้แอปพลิเคชันมีประสิทธิภาพ สถาบันการศึกษาพยาบาลจึงควรพิจารณานำแอปพลิเคชันนี้มาใช้เป็นสื่อการสอนเสริมในวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/271454 ปัจจัยทำนายการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วย ของพยาบาลวิชาชีพ ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2024-08-06T08:18:03+07:00 มณีจันทร์ มิ่งขวัญ maneechan1019@gmail.com จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร Maneechan.m@kkumail.com <p>แผลกดทับเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล และเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้ด้วยการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับ การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตสุขภาพที่ 10 จำนวน 5 แห่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย จำนวน 165 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยทำนายการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วย และแบบสอบถามการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ชั่วโมงการปฏิบัติงาน/ สัปดาห์ (Beta= -0.446, p &lt; 0.001) ความตระหนักในป้องกันการเกิดแผลกดทับ (Beta=0.283, p &lt; 0.001) การรับรู้คุณค่าวิชาชีพ (Beta=0.199, p &lt; 0.001) และภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย (Beta = 0.147, p &lt; 0.05) โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันแผลกดทับได้ร้อยละ 76.8 (R<sup>2</sup>=0.768, p &lt; 0.05) สรุปได้ว่าชั่วโมงการปฏิบัติงาน/ สัปดาห์ ความตระหนักในป้องกันการเกิดแผลกดทับ การรับรู้คุณค่าวิชาชีพ และภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ ผู้บริหารสามารถนำปัจจัยดังกล่าวมาเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการทางการพยาบาล เพื่อทำให้การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพเพิ่มขึ้น</p> 2024-12-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/271600 การพัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะการนิเทศด้านคลินิก ของหัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่ 2024-09-05T11:44:33+07:00 เบญจวรรณ มณีภาค benchawan.b2@gmail.com จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร benchawan.b2@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะการนิเทศด้านคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม 3) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านการปฏิบัติการนิเทศ ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือหัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่หรือหัวหน้างานใหม่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จำนวน 20 คน ใช้กรอบแนวคิดวิจัยเชิงปฏิบัติการของ Kemmis &amp; Mc Taggart เครื่องมือดำเนินการวิจัย คือ โปรแกรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะการนิเทศด้านคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่ ตามแนวคิดการนิเทศทางคลินิกของ พรอคเตอร์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินสมรรถนะ แบบประเมินการปฏิบัติการนิเทศ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าเท่ากับ1.00, 0.98 และ0.96 ตามลำดับ ทดสอบค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: พบว่า หัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่ มีสมรรถนะการนิเทศด้านคลินิกภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z = -2.023, p =0.043) มีการปฏิบัติการนิเทศภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z = -5.799, p =&lt;0.001) และภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมผู้ร่วมวิจัยมีความพึงพอใจต่อโปรแกรม อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.21 (S.D.=0.37) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะการนิเทศด้านคลินิกของหัวหน้าหอผู้ป่วยใหม่ ที่เกิดจากการสร้างโปรแกรมการร่วมกัน สามารถนำมาใช้ในบริบทของกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ส่งผลให้ผู้นิเทศทางการพยาบาลมีสมรรถนะเพิ่มขึ้น</p> 2024-12-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/275541 พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และความสัมพันธ์ ต่อภาวะสุขภาพ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2024-11-28T16:40:35+07:00 อัญชลี ฐิตะสาร Sirinporn@bcnsp.ac.th ศิริญพร บุสหงษ์ sirinporn@bcnsp.ac.th <p>สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทในการดำเนินชีวิต และเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ง่ายต่อการเข้าถึง ของนักศึกษา วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และความสัมพันธ์ของการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับภาวะสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และภาวะสุขภาพ ตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.87 และ 0.78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและไคสแควร์</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: นักศึกษาส่วนใหญ่ (53.0%) ใช้สื่อสังคมออนไลน์มากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน สื่อสังคมออนไลน์ 5 อันดับแรกที่ใช้ คือ Instagram (100%) Line (99.6%) TikTok (96.7%) Facebook (96.7%) และ YouTube (94.4%) โดยใช้อย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวัน กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทุกคนทำทุกวันคือ ดูหนังฟังเพลง และสืบค้นข้อมูลด้านการเรียน ระยะเวลาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับ การปวดหลัง (<em>p</em> = .019) ปวดศีรษะ (<em>p</em> = .015) ชาตามปลายมือ (<em>p</em> = .024) หงุดหงิด (<em>p</em> = .003) และไม่มีสมาธิ (<em>p</em> = .010) กลุ่มตัวอย่าง ระบุว่าอาการดังกล่าวส่งผลต่อภาวะสุขภาพของนักศึกษา ดังนี้ การนอนพักผ่อน (71.5%) ความสนใจในการเรียน (66.3%) การใช้เวลากับเพื่อน ๆ (56.7%) และการทำกิจกรรมที่ชอบ (53.7%) จากผลการวิจัย การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในระยะเวลานานๆ มีผลกระทบด้านลบต่อด้านร่างกายและจิตใจของนักศึกษา การให้ความรู้และปรับพฤติกรรมของนักศึกษาให้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในแต่ละครั้งให้สั้นลง อาจช่วยลดผลกระทบด้านลบของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าว ผู้สอนสามารถใช้ประเภทสื่อสังออนไลน์ที่เป็นที่นิยมในกลุ่มนักศึกษา เป็นช่องทางในการเผยแพร่สื่อการสอนเพื่อให้นักศึกษาเข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึง</p> 2024-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์