TY - JOUR AU - สังฆะโร, ณัฐธิดา AU - เนาว์สุวรรณ, กิตติพร AU - สิงห์วีรธรรม, นภชา PY - 2020/12/29 Y2 - 2024/03/28 TI - แนวปฏิบัติทางทันตกรรมในผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและคอ ที่ได้รับรังสีรักษาในบริบทโรงพยาบาลชุมชน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา JF - วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ JA - J Health Sci BCNSP VL - 4 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/242115 SP - 85-110 AB - <p>รังสีรักษาเป็นการรักษาที่มีความสำคัญยิ่งในการรักษามะเร็งศีรษะและคอ อย่างไรก็ตามปริมาณรังสีที่สูงก่อให้เกิดผลข้างเคียงในช่องปาก หลังรับรังสีรักษา การดูแลสุขภาพช่องปากไม่ว่าจะเป็นระยะก่อน ระหว่างหรือหลังรังสีรักษา มีบทบาทสำคัญในการป้องกันผลแทรกซ้อนต่อฟันและอวัยวะในช่องปาก การวิจัยแบบผสมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติ และศึกษาความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ต่อผู้รับบริการ ของแนวปฏิบัติทางทันตกรรมในผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา ในบริบทโรงพยาบาลชุมชน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา การดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาแนวปฏิบัติทางทันตกรรมในผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและคอ ที่ได้รับรังสี โดยการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วมาพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสรุปประเด็น ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่และร้อยละ</p><p>ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติทางทันตกรรมในผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะ&nbsp;&nbsp; และคอที่ได้รับรังสีรักษา ในบริบทโรงพยาบาลชุมชน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 3 ระยะ 20 &nbsp;ขั้นตอน ได้แก่ ระยะก่อนการให้รังสีรักษา ระยะระหว่างการให้รังสีรักษา และภายหลังจากการให้รังสีรักษาโรคมะเร็ง &nbsp;โดยแนวปฏิบัติ 15 ข้อ ใน 20 ข้อ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ต่อผู้รับบริการร้อยละ 100 อีก 4 ข้อ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และประโยชน์ต่อผู้รับบริการร้อยละ 90.9 ส่วนอีก 1 ข้อ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และประโยชน์ต่อผู้รับบริการร้อยละ 72.7</p><p>ดังนั้นทันตแพทย์ ทันตบุคลากรในโรงพยาบาลและเครือข่ายในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสะเดาอาจพิจารณานำแนวปฏิบัติดังกล่าวมา เป็นแนวทางปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง มีมาตรฐานเดียวกันส่งผลต่อการลดภาวะแทรกซ้อนจากรังสีรักษา ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายหลังการรักษา</p> ER -