@article{รัตนดิลก ณ ภูเก็ต_วิบูลชัย_วิริยะสืบพงศ์_2019, place={Ubon Ratchathani, Thailand}, title={ผลการใช้มาตรการบริหารจัดการเพื่อการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล}, volume={3}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/192839}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการใช้มาตรการบริหารจัดการเพื่อการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัย เชิงปฏิบัติการ (Action research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นโรงพยาบาลที่มี การรายงานการป่วยเป็นวัณโรคของบุคลากรสุขภาพอยู่ในห้าลำดับแรกของประเทศ ทั้งนี้มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ Inclusion criteria และ Exclusion criteria ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 310 คน โดยแบ่งดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการ เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ของการดำเนินงานตามมาตรการบริหารจัดการเพื่อการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลขององค์การอนามัยโลก 2) ระยะดำเนินการวิจัยเป็นการพัฒนาแผนปฏิบัติการ การพัฒนาคู่มือปฏิบัติงาน การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทุกระดับ และการกำกับติดตามทุกสามเดือน 3) ระยะคืนข้อมูล และ 4) ระยะการประเมินผล โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก โดยเครื่องมือที่ใช้ผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้ครอนบาคแอลฟา ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และไคสแควร์ และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการดำเนินงานป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลคือ ขาดแผนปฏิบัติการเฉพาะเจาะจงเรื่องการป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค (ร้อยละ 96.45) 2) ผลการพัฒนาแผนปฏิบัติการ พบว่า เกิดแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 4 แผน 3) เกิดคู่มือปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล 4) ผลการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร พบว่า บุคลากรสุขภาพในโรงพยาบาลสมรรถนะด้านการบริหารจัดการเพื่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 48. 39 เป็นร้อยละ 86.45 5) ผลการคืนข้อมูล พบว่า มีการคืนข้อมูลผ่านตัวชี้วัดการใช้มาตรการบริหารจัดการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลทุกสามเดือน 6) ผลการประเมินพบว่า เกิดผลสืบเนื่องจากการใช้มาตรการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล สะท้อนจากมีระดับความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรนำผลการใช้มาตรการบริหารจัดการเพื่อการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลไปการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบุคลากรควรพัฒนาระบบและกลไกการเฝ้าระวังการป่วยเป็นวัณโรคของบุคลากรสุขภาพในโรงพยาบาล</p>}, number={1}, journal={วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์}, author={รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จุฑาพัฒน์ and วิบูลชัย รุ้งรังษี and วิริยะสืบพงศ์ เพชรมณี}, year={2019}, month={พ.ค.}, pages={52–65} }