@article{ศรีวชิรางกูร_2019, place={Ubon Ratchathani, Thailand}, title={รูปแบบการพัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด สำหรับมหาชนของสถาบันพระบรมราชชนก}, volume={3}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/192833}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่1 เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัญหา ความต้องการ ใช้ระบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนของสถาบันพระบรมราชชนก โดยวิธีการสำรวจข้อมูลจากแบบสอบถามสภาพการดำเนินงาน ปัญหา และ ความต้องการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสารสนเทศ อาจารย์ผู้สอน และผู้ดูแลระบบสารสนเทศวิทยาลัยในสังกัด จำนวน 39 วิทยาลัย ระยะที่2 เพื่อพัฒนารูปแบบ การพัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนของสถาบัน พระบรมราชชนกโดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group)และจากการประชุม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ จำนวน12 ท่าน และระยะที่3 เพื่อประเมินรับรองความเหมาะสมของรูปแบบ โดยใช้แบบประเมินรับรองความเหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสถาบันพระบรมราชชนกโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.59, S.D.= 0.84) ปัญหาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.57, S.D.= 0.88) และความต้องการด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาพรวมอยู่ในระดับมาก(Mean = 3.62, S.D.= 0.86) 2) ผลการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก คือ การบริหารระบบ และการให้บริการ การบริหารจัดการ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ การสอน และผลการเรียนรู้และมี 20 องค์ประกอบย่อย 3) ผลการประเมินรับรองรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่ารูปแบบมีความสอดคล้องและเหมาะสมในการนำไปใช้ ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.67, S.D. = 0.47)</p>}, number={1}, journal={วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์}, author={ศรีวชิรางกูร นันทรัตน์}, year={2019}, month={พ.ค.}, pages={33–51} }