TY - JOUR AU - กิ่งมาลา, ชลดา AU - รวิวรกุล, ทัศนีย์ AU - เผ่าวัฒนา, อาภาพร PY - 2015/09/01 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิง EFFECT OF A PREGNANCY PREVENTION PROGRAM FOR FEMALE ADOLESCENTS JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 31 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/56407 SP - AB - <p align="center">บทคัดย่อ</p><p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิง ต่อความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมีการประยุกต์ใช้แนวคิด Information Motivation Behavioral Skill (IMB model) ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมทั้งสิ้น5 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คนกลุ่มเปรียบเทียบ 32 คน กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จำนวน 3 ครั้ง ระยะเวลา 5 สัปดาห์ เก็บข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ประกอบด้วยการตอบแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบสองกลุ่ม และการวัดความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ</p><p>ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และการรับรู้ความสามารถตนเอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p&lt;.001 และ .001 ตามลำดับ) ส่วนระยะติดตามผล กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยว</p><p>กับการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การรับรู้ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์สูงกว่า ก่อนการทดลอง (p&lt;.001, .016 และ &lt;.001 ตามลำดับ) การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า คะแนนเฉลี่ย ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ทั้งหลังการทดลอง</p><p>และระยะติดตามผล (p&lt;.001) และในระยะติดตามผลพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p&lt;.001) ส่วนคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ ทัศนคติต่อการป้องกันการตั้งครรภ์พบว่าไม่แตกต่างกัน (p&gt;.05) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการป้องกัน</p><p>การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผ่านการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ สามารถช่วยให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิงได้อย่างเหมาะสม การนำโปรแกรมไปใช้ในครั้งต่อไป ควรมีการปรับรูปแบบกิจกรรมการสร้างแรงจูงใจที่สามารถทำให้กลุ่มวัยรุ่นตื่นตัว เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยน ทัศนคติต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ เหมาะสม และช่วยลดสถานการณ์ในการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในอนาคต</p><p> </p><p align="center">Abstract</p><p>The purpose of this research was to examine the effects of a pregnancy prevention program, based on Motivation Behavioral Skill (IMB model), for female adolescents on knowledge and attitude toward pregnancy prevention, self-efficacy toward pregnancy prevention, and pregnancy prevention behaviors. Duration of the program was 5 weeks. The sample was 64 secondary school female students selected by simple random sampling, 32 for the experimental group receiving 3 sessions of the pregnancy prevention program and 32 for the comparison group. Self-administered questionnaires were employed to examine knowledge and attitude of pregnancy prevention in adolescent, self-efficacy toward pregnancy prevention in adolescent, and pregnancy prevention behaviors. Descriptive statistics, independent t-test, paired t-test, and repeated measure ANOVA were employed for data analyses.</p> ER -