TY - JOUR AU - หงษ์ศิริ , กรรณิกา AU - วิทยศุภร , จริยา AU - ดารามาศ , ทิพวัลย์ PY - 2022/04/01 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของการดูแลช่องปากด้วยน้ำนมแม่ต่อความสามารถในการดูดนมแม่ ของทารกเกิดก่อนกำหนด JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 38 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/251942 SP - 38-48 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p><strong>          บทนำ</strong>: การดูแลช่องปากด้วยนมแม่นั้นทำให้ทารกได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสจากการรับกลิ่นรับรสจากน้ำนมแม่ ส่งเสริมให้ทารกมีพฤติกรรมการดูดการกลืน มีความสามารถในการดูดนมแม่เพิ่มมากขึ้น</p><p><strong>          วัตถุประสงค์การวิจัย</strong>: เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดูดนมแม่ด้านพฤติกรรมการดูดนม ระยะเวลาเปลี่ยนผ่านและปริมาณน้ำนมที่ดูดได้ของทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มที่ได้รับการดูแลช่องปากด้วยน้ำนมแม่และทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ</p><p><strong>          ระเบียบวิธีวิจัย</strong>: การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิด 2 กลุ่มวัดผลหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนด 43 คน อายุครรภ์ 28-34 สัปดาห์ ที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน <u>พ.ศ.</u> 2563 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติเกณฑ์การคัดเข้า กลุ่มควบคุม 22 คนและกลุ่มทดลอง 21 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการดูแลช่องปากด้วยน้ำนมแม่ เมื่อแพทย์อนุญาตให้ทารกทั้ง 2 กลุ่มสามารถดูดนมจากเต้านมแม่ได้ ผู้วิจัยทำการประเมินความสามารถในการดูดนมแม่ ด้านพฤติกรรมการดูดนม ด้านระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านและปริมาณน้ำนมที่ดูดได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ขั้นตอนการดูแลช่องปากด้วยน้ำนมแม่และแบบประเมินพฤติกรรมการดูดนมแม่ในทารกเกิดก่อนกำหนด (The Preterm Infant Breastfeeding Behavior Scale: PIBBS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-square และ Independent t-test</p><p><strong>          ผลการวิจัย:</strong> ความสามารถในการดูดนมแม่ด้านพฤติกรรมการดูดนมแม่และปริมาณน้ำนมที่ดูดได้ของทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตามพบว่าด้านระยะเวลาเปลี่ยนผ่านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p><p><strong>          สรุปผลการวิจัย</strong>: การดูแลช่องปากด้วยน้ำนมแม่มีผลต่อความสามารถในการดูดนมแม่ของทารกเกิดก่อนกำหนดด้านพฤติกรรมการดูดนมและปริมาณน้ำนมที่ดูดได้ </p><p><strong>          ข้อเสนอแนะ</strong>: ส่งเสริมพยาบาลวิชาชีพให้นำการดูแลช่องปากด้วยน้ำนมแม่ไปใช้กับทารกเกิดก่อนกำหนด เพื่อเป็นการกระตุ้นส่งเสริมให้ทารกมีความสามารถในการดูดนมแม่ที่ดีขึ้น  </p> ER -