TY - JOUR AU - ตันฑพงศ์, เอื้องดอย AU - ทาอ้อ , สุพัตรา PY - 2021/12/09 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลการใช้โปรแกรมการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกฤตในทารกแรกเกิด ในการพยาบาลทารกแรกเกิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 37 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/251388 SP - 76-88 AB - <p>บทนำ: การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมจากในครรภ์สู่ภายนอกครรภ์ของทารกแรกเกิดจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน พยาบาลวิชาชีพเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกฤตและให้การช่วยเหลืออย่างรวดเร็วเพื่อให้ทารกปลอดภัยและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาโปรแกรมและศึกษาผลการใช้โปรแกรมการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกฤตในทารกแรกเกิด (Newborn Modified Early Warning Scoring: NEWS) โดยศึกษาผลลัพธ์ต่อพยาบาลและต่อผู้ป่วยที่ใช้โปรแกรม ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยและพัฒนา (R&amp;D) นี้ ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยประยุกต์ทฤษฎีระบบ (System theory) ร่วมกับวงจรการพัฒนาคุณภาพ (PDCA) ตามแนวคิดของ เดมมิ่ง (Deming Cycle) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ ทั้งหมด 31 คน และผู้ป่วยทารกแรกเกิดทั้งหมด 220 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของทารกแรกเกิดและมารดา แบบประเมิน NEWS แบบประเมินความรู้ NEWS แบบสังเกตการปฏิบัติ และ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ NEWS วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที (pair t-test) และสถิติการทดสอบฟิชเชอร์(Fisher’s Exact test) ผลการวิจัย: พบว่า 1) ความรู้ของพยาบาลในการประเมิน NEWS ภายหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .001) 2) คะแนนปฏิบัติของพยาบาลในการประเมิน NEWS ปฏิบัติถูกต้องผ่านเกณฑ์ เฉลี่ยร้อยละ 96.77 (x ̅= 96.77, SD.= 7.47) 3) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้โปรแกรมการประเมิน NEWS ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการใช้โปรแกรมการประเมิน NEWS อุบัติการณ์ผู้ป่วยย้ายเข้า ICU โดยไม่ได้วางแผนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05) และไม่พบอุบัติการณ์ผู้ป่วยที่ต้องช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) โดยไม่ได้วางแผน สรุปผล: การประเมิน NEWS มีประสิทธิผลในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดกับผู้ป่วยทารกแรกเกิดและให้การดูแลรักษาที่รวดเร็วเหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย ข้อเสนอแนะ: ควรนำการประเมิน NEWS ไปใช้ประเมินทารกแรกเกิดในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด และควรมีการศึกษาวิจัยต่อเนื่องในสถานพยาบาลที่ดูแลทารกแรกเกิดอื่นๆในเครือเขตบริการสุขภาพทั้ง 13 เขต</p> ER -