TY - JOUR AU - พุ่มท่าอิฐ, ธณิดา AU - ธรรมกุล, ดวงเนตร AU - บาลจ่าย , ญาดารัตน์ PY - 2021/11/29 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 37 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/251125 SP - 192-204 AB - <p>บทนำ: เครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพที่พัฒนาอย่างเหมาะสม เมื่อนำมาใช้ในการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ จะทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการดูแลภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ลดการพึ่งพิงระบบบริการสุขภาพลง เกิดประโยชน์ต่อการจัดการควบคุมอิทธิพลจากสิ่งเร้า ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ และเป็นแนวทางในการวางแผนเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ อาสาสมัครสาธารณสุข เขตบางพลัดที่เป็นผู้สูงอายุ และสมัครใจ จำนวน 11 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ประจำตามทะเบียนบ้านในเขตบางพลัด ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายได้ 6 ชุมชน จาก 48 ชุมชน จากนั้นเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 396 คน เครื่องมือประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ จำนวน 40 ตัวชี้วัด ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ทดสอบความเที่ยงด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์เชิงอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาดัชนีความรอบรู้ ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัย: มีข้อคำถามจำนวน 4 ข้อที่ไม่มีประสิทธิภาพในการวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ โมเดล การวัดดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2(358, N=393) =402, p=0.051, AGFI = 0.90) และอัตราส่วนระหว่างค่า 2 และค่าองศาอิสระ=1.12 น้ำหนักองค์ประกอบทั้งหมด มีค่าเป็นบวก ขนาด .54 ถึง .82 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดตามลำดับ คือ 1) การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ 2) การรู้เท่าทันสื่อ 3) การจัดการตนเอง 4) ทักษะการสื่อสาร 5) การเข้าถึงบริการสุขภาพ 6) การรู้หนังสือ 7) ความเข้าใจข้อมูล ทางสุขภาพ และ8) ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ ดังนั้น เครื่องมือวัดระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ได้ สรุปผล: เครื่องมือวัดระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ โดยสามารถนำไปประเมินระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับวัยได้ ข้อเสนอแนะ: ทีมสุขภาพสามารถนำเครื่องมือนี้ไปใช้ในการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ และพัฒนาให้คงอยู่ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงจากความเสี่ยงในเรื่องความเฉื่อยทางปัญญาอันสืบเนื่องมาจากความเสื่อมถอยของระบบร่างกาย</p> ER -