TY - JOUR AU - โพธิมาศ , นิศากร AU - มีพริ้ง, สุนทรีภรณ์ AU - อยู่ใจเย็น, มาลินี PY - 2021/11/29 Y2 - 2024/03/29 TI - ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการเรียนออนไลน์ ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ และการเผชิญความเครียดของนิสิตพยาบาล ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 37 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/250810 SP - 142-154 AB - <p>บทนำ: ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้จำเป็นต้องจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้กับนิสิตพยาบาล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้นิสิตต้องปรับตัวและอาจมีความเครียดได้ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการเรียนออนไลน์ ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ และการเผชิญความเครียดของนิสิตพยาบาล ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตพยาบาลที่กำลังศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 จำนวน 169 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเครียดในการเรียนออนไลน์ แบบประเมินพลังสุขภาพจิต (Resilience Quotient: RQ) และแบบวัดการเผชิญความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดในการเรียนออนไลน์อยู่ในระดับสูงและรุนแรง (ร้อยละ 45.60 และ 36.10 ตามลำดับ) มีการเผชิญความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 83.40 และมีความยืดหยุ่นทางอารมณ์อยู่ในระดับปกติ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ความยืดหยุ่นทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดในการเรียนออนไลน์ (r = -.27, p&lt; .01) และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเผชิญความเครียด (r = .16, p&lt; .05) สรุปผล: นิสิตพยาบาลมีความเครียดในการเรียนออนไลน์อยู่ในระดับสูงถึงรุนแรง และความยืดหยุ่นทางอารมณ์เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเครียดในการเรียนออนไลน์และการเผชิญความเครียด ข้อเสนอแนะ: ควรนำเสนอหรือเผยแพร่ผลการวิจัยให้กับผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำผลการวิจัยไปพัฒนาแนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังนิสิตที่มีความเครียดในระดับสูงและรุนแรง รวมถึงออกแบบการเรียนการสอนออนไลน์เพื่อให้นิสิตมีความเครียดลดลง</p> ER -