TY - JOUR AU - เหล่าดรุณ , สรวิชญ์ AU - มูลศาสตร์ , สุทธีพร AU - แก้วปาน , วันเพ็ญ PY - 2021/11/30 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของโปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงต่อพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ของกลุ่มเสี่ยงที่ประกอบอาชีพกรีดยางในอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 37 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/249338 SP - 205-217 AB - <p>บทนำ: โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยมีจำนวนมากขึ้นและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนทั่วโลกที่มักเกิดกับบุคคลที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงต่อพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและความดันเลือดแดงเฉลี่ยของกลุ่มเสี่ยงที่ประกอบอาชีพกรีดยางพารา ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความดันโลหิตซิสโตลิก 120-139 มิลลิเมตรปรอท และความดันโลหิตไดแอสโตลิก 80-89 มิลลิเมตรปรอท ประกอบอาชีพกรีดยาง มีอายุ 35-59 ปี ซึ่งกลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มแบบง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 34 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่ประกอบอาชีพกรีดยางพารา ซึ่งพัฒนาขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน มีระยะเวลา 9 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการและเยี่ยมบ้าน เพื่อการปรับเปลี่ยนเจตคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรค บรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิง และการส่งเสริมการรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรม 2) คู่มือการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง 3) แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และ 4) เครื่องวัดความดันโลหิต แบบสอบพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงมีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .97 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราคเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที ผลการวิจัย: หลังการเข้าร่วมโปรแกรม ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงที่ประกอบอาชีพกรีดยางพาราในกลุ่มทดลองมีค่ามากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความดันเลือดแดงเฉลี่ยมีค่าน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผล: โปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและความดันเลือดแดงเฉลี่ยของกลุ่มเสี่ยงที่ประกอบอาชีพกรีดยางพารา ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้: หน่วยงานสาธารณสุขสามารถนำโปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่ประกอบอาชีพกรีดยางพารานี้ไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงอาชีพอื่นที่มีวิถีชีวิตการทำงานแบบอาชีพกรีดยางได้</p> ER -