TY - JOUR AU - รักษ์วงค์ , เพ็ญศรี AU - อัศวพัฒน์, มุจจรินทร์ AU - คเชนทร์ชัย , สุณัฎดา AU - วิศวเทพนิมิตร , พนารัตน์ PY - 2021/04/09 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 37 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/249301 SP - 266-280 AB - <p>บทนำ: ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายต้องการการดูแลที่ซับซ้อน จากการทบทวนวรรณกรรมยังไม่พบการศึกษารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่เน้นการพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและผู้ดูแล ซึ่งมีความสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในระยะท้ายของผู้ป่วย วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายต่อผลลัพธ์ทางการพยาบาล ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยและพัฒนา ศึกษาใน รพ.มหาราชนครราชสีมา ระหว่างสิงหาคม พ.ศ. 2562 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม ร่วมกับและ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ทีมสหสาขาวิชาชีพที่ร่วมพัฒนารูปแบบจำนวน 9 คน ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน และผู้ดูแล แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน เก็บข้อมูลโดย แบบประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติที การทดสอบของฟิชเชอร์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย: รูปแบบการวางแผนจำหน่าย ประกอบด้วย สมรรถนะพยาบาลเฉพาะทาง แนวทางการวางแผนจำหน่าย และการนิเทศทางการพยาบาล ผลการนำรูปแบบนี้ไปใช้ พบว่า ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ความสำเร็จของการจัดการอาการรบกวน และความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ &lt;.001, .002, .011 และ &lt;.001 ตามลำดับ แต่การเกิดภาวะแทรกซ้อนและการกลับมารักษาซ้ำระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน สรุปผล: รูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่พัฒนาขึ้นช่วยส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง การจัดการอาการรบกวน คุณภาพชีวิต รวมทั้งความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วย ข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรนำรูปแบบการวางแผนจำหน่ายนี้ไปใช้เพื่อการดูแลที่ต่อเนื่องและเกิดผลลัพธ์ที่ดี</p> ER -