TY - JOUR AU - เทียบฤทธิ์, สุรศักดิ์ AU - เทริ์นโบล์ , นิรุวรรณ AU - ศรีภูวงษ์ , ชาญยุทธ AU - ศรีภูวงษ์ , วรางคณา AU - ศรีดาเกษ, เสาวลักษณ์ PY - 2021/10/28 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของโปรแกรมสนับสนุนการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันโรคไตเสื่อมเรื้อรัง ของกลุ่มเสี่ยงในชุมชน JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 37 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/247743 SP - 229-240 AB - <p>บทนำ: โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทยและทั่วโลก ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคไตเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การใช้ยาไม่ถูกต้อง วัตถุประสงค์การวิจัย: มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิก สำหรับกลุ่มเสี่ยงในชุมชนซึ่งมีภาวะการทำงานของไตบกพร่องในระยะ 1-3 ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่มวัดก่อน และหลัง กลุ่มตัวอย่าง 60 คน คัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน มี กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันไตเสื่อมเรื้อรังโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และการสนับสนุนการดูแลตนเองด้วยเทคนิค 5 เอ เก็บรวบรวมข้อมูลในสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 12 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับโรคไตเสื่อมเรื้อรังที่มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.77 2) แบบสอบถามการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไตเสื่อมเรื้อรัง ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ 0.80 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันไตเสื่อมเรื้อรัง ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ 0.78 และ วัดผลลัพธ์ทางคลินิกได้แก่ ค่าระดับซีรั่มครีเอะตินีนและค่าอัตราการกรองของไตตามมาตรฐานของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรม มีค่าเฉลี่ยคะแนความรู้เกี่ยวกับโรคไตเสื่อม การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไตเสื่อมเรื้อรัง พฤติกรรมในการป้องกันไตเสื่อมเรื้อรัง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยซีรั่มครีเอะตินีนและเฉลี่ยค่าอัตรากรองของไตแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05) สรุปผล: โปรแกรมสนับสนุนการดูแลตนเองที่ประยุกต์ใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และการสนับสนุนการดูแลตนเองด้วยเทคนิค 5 เอ ทำให้กลุ่มเสี่ยงมีการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ดีขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการป้องกันไตเสื่อมเรื้อรัง และผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีได้ ข้อเสนอแนะ: หน่วยงานสาธารณสุขในชุมชน สามารถนำโปรแกรมนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมเรื้อรังได้</p> ER -