TY - JOUR AU - สายบุญศรี, อันธิฌา AU - นันทเสนีย์ , ศิริพร AU - ดีประเสริฐ , อริยา PY - 2022/08/01 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรม ร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัดต่อความเครียดในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 38 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/247717 SP - 281-292 AB - <p> <strong>บทนำ:</strong> การจัดการความเครียดที่เหมาะสมของนักศึกษาพยาบาล จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถปรับตัวกับการเรียนรู้และการใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข</p><p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัดต่อความเครียดในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3</p><p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย: </strong>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 42 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ 1) โปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด 6 สัปดาห์  2) แบบประเมินความเครียดของโรงพยาบาลสวนปรุง (SPST-20) เก็บรวบรวมข้อมูล 20 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความเครียดของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ paired sample t-test</p><p><strong>ผลการวิจัย: </strong>คะแนนความเครียดของกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด ก่อนเข้ารับโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ย 57.06±13.36 หลังสิ้นสุดโปรแกรมฯทันที มีค่าเฉลี่ย 53.44±12.80 และหลังสิ้นสุดโปรแกรมฯ เดือนที่ 3 มีค่าเฉลี่ย 40.60±11.45 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความเครียดของกลุ่มตัวอย่างทางสถิติ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดหลังเข้ารับโปรแกรมฯ เดือนที่ 3 ต่ำกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; .05)</p><p><strong>สรุปผล: </strong>โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด ช่วยลดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 <strong> </strong>ที่เรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชได้</p><p><strong>ข้อเสนอแนะ: </strong>โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกสมาธิบำบัด เป็นวิธีหนึ่งที่เหมาะสมในการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล และสามารถนำไปปรับใช้ในรายวิชาอื่น ๆ ได้</p> ER -