TY - JOUR AU - สังขมุณีจินดา, กฤษณา AU - พวงสุวรรณ , ศิมาภรณ์ AU - สุทธิจำนงค์ , มยุรา AU - รับความสุข , อนงค์นาฎ PY - 2021/11/25 Y2 - 2024/03/29 TI - การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุขณะนำส่ง กรณีศึกษา แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 37 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/243758 SP - 181-191 AB - <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> การเจ็บป่วยฉุกเฉินจากอุบัติเหตุเป็นสาเหตุการตายในลำดับต้นๆ ของประเทศไทย และเป็นภาวะวิกฤตของชีวิต หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมและทันท่วงที</p><p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย:</strong> เพื่อศึกษาผลการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุขณะนำส่ง ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี</p><p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย:</strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุทุกรายที่ใช้แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุขณะนำส่ง (Injury Survival Form : IS) จำนวน 1,700 ราย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน&nbsp; มีรายละเอียดดังนี้ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบบันทึกข้อมูลการปฐมพยาบาล/การดูแลขณะนำส่ง ข้อคำถาม จำนวน &nbsp;5 ข้อ ประกอบด้วย การดูแลการหายใจ การห้ามเลือด การยึดตรึงแนวกระดูกสันหลัง (Immobilize C- spine), การดาม (Splint/Slab) การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ</p><p><strong>ผลการวิจัย:</strong> จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุในการศึกษาครั้งนี้ ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 64.06 และช่วงอายุ 20 – 29 ปี ร้อยละ 20.94 ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ช่วงอายุ 10 – 19 ปี ร้อยละ 20.47&nbsp; ระดับการคัดแยกผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีเหลือง) ร้อยละ 57.53 ส่วนใหญ่มาโรงพยาบาลโดยได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลต่างๆ ร้อยละ 53.53 &nbsp;และสาเหตุของการบาดเจ็บเกิดจากอุบัติเหตุจากการขนส่ง</p><p>เป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.47 พบว่าผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุในการศึกษาครั้งนี้ ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 64.06และช่วงอายุ 20 – 29 ปี ร้อยละ 20.94 ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด มาโรงพยาบาลโดยได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลต่างๆ ร้อยละ 53.53 รองลงมาสาเหตุของการบาดเจ็บเกิดจากอุบัติเหตุจากการขนส่งเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.47</p><p>สรุปผล: ผลการศึกษาพบว่าการดูแลผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุขณะนำส่งที่มีความเหมาะสม มีผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้: ควรมีการส่งเสริมให้เกิดการทบทวนคุณภาพการดูแลผู้ป่วยขณะนำส่ง โดยวิเคราะห์ถึงปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติหน้าที่ และการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น</p> ER -