TY - JOUR AU - ไชยวงศ์ , ชัญญาวีร์ AU - ติรไพรวงศ์, ยุพาภรณ์ AU - สุเมธานุรักขกูล , วิระกาญจน์ PY - 2022/04/01 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดอุดรธานี JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 38 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/243406 SP - 61-72 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p><strong>บทนำ:</strong> โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขเนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญของการตายและการเจ็บป่วยเรื้อรังของคนไทย การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเป็นประโยชน์สำหรับทีมสุขภาพเพื่อใช้ในการป้องกันการเกิดโรคหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p><p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> ศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี </p><p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย:</strong> การวิจัยเชิงพรรณนานี้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 7 ข้อ แบบประเมินความเครียด (ST-5) จำนวน 5 ข้อคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานใช้สถิติการถดถอยโลจิสติคทวิ  กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 </p><p><strong>ผลการวิจัย:</strong> กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เป็นหลอดเลือดสมอง จำนวน 75 คน และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่เป็นหลอดเลือดสมอง จำนวน 150 คน รวมทั้งหมด 225 คน ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี มี 5 ปัจจัย ได้แก่  1) โรคหัวใจ (OR=10.57, p &lt;.05)  2) บุคคลในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดหรืออัมพาต (OR=4.14, p =.001)  3)  ไขมันในเลือดสูง (OR =0.09, p&lt;.001)  4) ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  (OR=0.02, p=001)  และ 4) ความเครียด (OR=0.79, p&lt;.05)  </p><p><strong>สรุปผล:</strong> ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์ต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง  ได้แก่ โรคหัวใจ บุคคลในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดหรืออัมพาต ไขมันในเลือด ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  และความเครียด</p><p><strong>ข้อเสนอแนะ:</strong> ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ผู้ให้บริการสุขภาพควรพัฒนาโปรแกรมป้องกันการเกิดหลอดเลือดสมอง  สำหรับผู้ป่วยโดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นโรคหัวใจร่วมด้วยหรือมีญาติสายตรงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการจัดการความเครียด</p> ER -