TY - JOUR AU - ขำวงษ์ , มญช์พาณี AU - กัลกะ , สุทธานันท์ AU - ศิริมัย , วิไลลักษณ์ AU - หนูชูสุข , ชาลินี PY - 2020/04/01 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของการเรียนรู้โดยการใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจในตนเอง ในการปฏิบัติทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาล JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 36 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/241963 SP - 201-212 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การสนทนาเพื่อการบำบัดที่มีประสิทธิภาพเป็นเครื่องมือสำคัญในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัด กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีการบรรยายตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คู่มือจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง สำหรับฝึกทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัด ประกอบด้วย โจทย์สถานการณ์จำลอง แบบสังเกตการสนทนาเพื่อการบำบัด และข้อคำถามการสะท้อนคิด และส่วนที่ 2 แบบประเมินความมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัด มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .92 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .95&nbsp; วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาและการทดสอบค่าที&nbsp;</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัดภายหลังการทดลองของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) และ 2) คะแนนเฉลี่ยของความมั่นใจในตนเองในการปฏิบัติทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัดของนักศึกษากลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .01) &nbsp;ผลการวิจัยนี้สนับสนุนประสิทธิผลของการใช้สถานการณ์จำลอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติทักษะการสนทนาเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาลก่อนการฝึกภาคปฏิบัติ</p> ER -