TY - JOUR AU - ไพรบึง, ดวงฤทัย AU - เกิดมงคล, พัชราพร AU - อำนาจสัตย์ซื่อ, ขวัญใจ AU - รวิวรกุล, ทัศนีย์ PY - 2019/05/03 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเผชิญความเครียดในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 35 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/215164 SP - AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มเปรียบเทียบ วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการเผชิญความเครียดในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ&nbsp; กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ อายุ 60-79 ปี เป็นโรคเบาหวานที่มีเกณฑ์ความเครียดระดับปานกลางขึ้นไปสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มทดลองจำนวน 30 คน กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการเผชิญความเครียด ตามแนวคิดของลาซารัสและโฟร์คแมน เป็นเวลา 5 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ก่อนการทดลองและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 5 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนทดลอง หลังทดลอง และ วิเคราะห์สถิติด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square&nbsp; Independent t-test และ paired t- test</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า ระยะหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของระดับความเครียดน้อยกว่า ก่อนการทดลอง และน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และในระยะหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการเผชิญความเครียด สูงกว่าก่อนการทดลองและ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05&nbsp; ผลการศึกษาสรุปได้ว่า โปรแกรมส่งเสริมการเผชิญความเครียด มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการเผชิญความเครียด และระดับความเครียดของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ดังนั้นโปรแกรมนี้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนอื่นๆ ได้</p> ER -