TY - JOUR AU - รักษาธรรม, โสภา AU - นิโรธนันท์, อุไร AU - ติรไพรวงศ์, ยุพาภรณ์ PY - 2019/04/05 Y2 - 2024/03/29 TI - สภาพการจัดการเรียนการสอนด้านการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันการสูบบุหรี่และการเลิกสูบบุหรี่ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 35 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/215132 SP - AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิต ดังนั้นนักศึกษาพยาบาลมีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา​สมรรถนะในด้านการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันการสูบหรี่และสนับสนุนการเลิกสูบบุหรี่ในผู้รับบริการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันการสูบบุหรี่&nbsp; และการเลิกสูบบุหรี่ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย อาจารย์ประจำ จำนวน 30 คน และนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 105 คน ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ในปีการศึกษา 2557 เก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับอาจารย์ใช้แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการควบคุมการสูบบุหรี่ นักศึกษาใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันสูบบุหรี่และส่งเสริมการเลิกสูบหรี่ และการสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่างบางส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษา 1) ด้านสภาพการจัดการเรียนการสอน พบว่า ไม่มีรายวิชาใดที่มีเนื้อหาการสอนสำหรับการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันการสูบบุหรี่และการเลิกสูบบุหรี่ แต่มีการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกทั้งในรายวิชาภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดยเนื้อหาการสอนส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบของการบริโภคยาสูบ โทษและพิษภัยบุหรี่ และการพยาบาลเพื่อช่วยให้ลด ละ เลิกการบริโภคบุหรี่ &nbsp;&nbsp;2) ด้านการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันการสูบบุหรี่และส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในระดับปานกลาง มีทัศนคติต่อการป้องกันการสูบบุหรี่และส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่อยู่ในระดับดีถึงดีมาก นอกจากนี้ยังพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เคยให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่เพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ ร้อยละ 85.7 และเคยให้คำแนะนำการเลิกสูบบุหรี่ ร้อยละ 86.7 &nbsp;&nbsp;</p><p>ผลการวิจัยนี้ เสนอแนะว่าควรพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนด้านการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกัน และการเลิกสูบบุหรี่ เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษาพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพด้านการป้องกันการสูบบุหรี่และการเลิกบุหรี่แก่ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น</p> ER -