TY - JOUR AU - นารถสิทธิ์, ปรียานุช AU - จันทร์ประเสริฐ, สุวรรณา AU - กรุงไกรเพชร, นิสากร PY - 2019/03/29 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 35 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/215036 SP - AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การบริโภคผักและผลไม้เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามวัยของเด็กวัยเรียน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 185 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรู้เรื่องผักและผลไม้ ทัศนคติต่อการบริโภคผักและผลไม้ การเข้าถึงแหล่งที่เอื้อต่อการบริโภคผักและผลไม้ อิทธิพลของผู้ปกครอง อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผักและผลไม้ และการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนบริโภคผักและผลไม้สัปดาห์ละ 4-6 วัน ปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียน (FVC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001) &nbsp;คือ การจัดเตรียมอาหารของผู้ปกครอง (PPP) (<em>β</em> = .376, <em>p</em> &lt; .001) รองลงมา คือ การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผักและผลไม้ (INF) (<em>β</em> = .286, p &lt; .001) และทัศนคติต่อการบริโภคผักและผลไม้ (ATT) (<em>β</em> = .171, <em>p</em> &lt; .01) อำนาจการทำนายร่วมร้อยละ 31.8 (R <sup>2</sup> = .318) โดยค่าคงที่ไม่มีนัยสำคัญในสมการทำนาย และสามารถเขียนสมการทำนายได้ ดังนี้</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; FVC&nbsp;&nbsp; = 0.298 (PPP) + 0.244 (INF) + 0.188 (ATT)</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยนี้เสนอแนะว่า การส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนบริโภคผักและผลไม้ ควรเน้นการจัดเตรียมผักและผลไม้เพื่อให้เอื้อต่อการบริโภค การให้ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคผักและผลไม้</p> ER -