TY - JOUR AU - กังวานตระกูล, ปทุมมา AU - อินยาศรี, อ้อยอิ่น PY - 2017/10/05 Y2 - 2024/03/29 TI - การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดในห้องคลอด โรงพยาบาลอุดรธานี JF - วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) JA - JBCN_Bangkok VL - 33 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/110352 SP - 121-134 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p>การตกเลือดหลังคลอดเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักทางสูติกรรมที่ทำให้เกิดความพิการและ การเสียชีวิตของมารดาทั่วโลกการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติ การพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ในห้องคลอด โรงพยาบาลอุดรธานี โดยใช้รูปแบบและขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของ IOWA Model ซึ่งนำมาประยุกต์เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 มี 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การกำหนดประเด็นปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุที่พบในหน่วยงาน 2) การจัดตั้งทีมในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด 3) การร่วมประชุมปรึกษาหรือทบทวนหลักฐาน เชิงประจักษ์จากหลักฐานข้อมูลต่างๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ และ 4) การสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาล ของหน่วยงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ และผ่านการตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ในห้องคลอดโรงพยาบาลอุดรธานี ซึ่งประกอบด้วย (1) ระยะรอคลอด (2) ระยะคลอด (3) ระยะคลอดรก (4) ระยะหลังคลอด 2 ชั่วโมง และการประเมินและเตรียมความพร้อมผู้คลอดก่อนย้ายไปตึกหลังคลอด ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนในการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปปฏิบัติจริงกับมารดาท่คี ลอดทางช่องคลอด จำนวน 30 คน และพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือด ในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด จำนวน 22 คน ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนในการประเมินผลลัพธ์ พบว่า1) เมื่อนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือ ดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดไปปฏิบัติจริงกับมารดาที่คลอดทางช่องคลอด จำนวน 30 คน ไม่พบการตกเลือดภายในระยะ 2 ชั่วโมงแรก หลังคลอด 2) พยาบาลวิชาชีพ สามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือด ในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดได้ทุกระยะ 3) ความคิดเห็นของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ สามารถนำไปใช้ได้จริง ( mean =4.73, SD=0.456) เป็นประโยชน์ในทางการพยาบาล (mean=4.59, SD=0.503) และมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือด ในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ( mean=4.50, SD=0.512) ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด สามารถนำไปใช้กับมารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันการตกเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรบูรณาการแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้เข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลต่อไป</p> ER -