@article{ภูศรี_เกิดมงคล_2013, place={ิBangkok}, title={ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง และความเข้มแข็งในการมองโลก ของผู้เสพแอมเฟตามีน}, volume={28}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/4845}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง และความเข้มแข็งในการมองโลก ของผู้เสพแอมเฟตามีน ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ วัดท่าพุราษฎร์บำรุง อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 17 คน กลุ่มทดลองเข้าโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว จำนวน 4 ครั้ง และได้รับการกระตุ้นเตือนแรงสนับสนุนจากครอบครัวทางโทรศัพท์ 2 ครั้ง ใช้เวลาการศึกษา 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง แบบสอบถาม 1 ชุด ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ครอบครัว และประวัติการใช้สารเสพติด ส่วนที่ 2 แบบสอบถามวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง ส่วนที่ 3 แบบสอบถามวัดความเข้มแข็งในการมองโลก ซึ่งได้ตรวจสอบความตรงและความเที่ยงแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเอง 42.34% สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเปรียบเทียบ 38.23% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.003 และ 0.007 ตามลำดับ) และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเข้มแข็งในการมองโลก หลังการทดลอง 28.42% เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.004) ข้อเสนอแนะการใช้โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว และการกระตุ้นเตือนแรงสนับสนุนจากครอบครัวทางโทรศัพท์ ควรมีการนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปกติของผู้เสพแอมเฟตามีน ซึ่งจะทำให้การป้องกันการติดซ้ำมีประสิทธิผลมากขึ้น</p><p> </p><p><strong>ABSTRACT</strong></p><p>The objective of this study was to determine the effectiveness of a rehabilitation program with family participation that responded to self-esteem and sense of coherence of amphetamine dependants at Tapurasbumrung temple Danmakamtia district , Kanchanaburi province. The study sample was experimental groups of 25 subjects and comparison a group of 17 subjects. The experimental group got the rehabilitation program with family participation 4 times and the activation by phone 2 times. The questionnaire was used for data collection, pre-test and post-test. A set of questionnaire contains the following 3 parts. Part 1 : Questions on personal and family background and history of drug used. Part 2 : Questions on self-esteem. Part 3 : Questions on a sense of coherence. Data was analyzed by t-test. The results of this study showed that eight weeks after the program the experimental group had a mean of 42.34% for self-esteem higher than before participating in the program and higher a mean of 38.23% for the comparison group, statistically significantly. (p-value = 0.003 and 0.007) After the program the experimental group had a mean of 28.42% for sense of coherence higher than before participating in the program, statistically significantly. (p-value = 0.004) In conclusion, in order to prevent relapse of amphetamine use more effectively, the application of rehabilitation program with family participation and activation by phone should be treat with the normally rehabilitation program.</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)}, author={ภูศรี เด่นเดือน and เกิดมงคล พัชราพร}, year={2013}, month={ม.ค.} }