@article{ศรีจำนงค์_รวิวรกุล_ละกำปั่น_มาลาธรรม_2013, place={ิBangkok}, title={ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน}, volume={26}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/4769}, abstractNote={<p>ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มสูงขึ้น และด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตและกลับไปใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านโดยมีความพิการหลงเหลืออยู่ ส่งผลให้ญาติเข้ามามีบทบาทในการดูแล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองที่บ้านต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังผลลัพธ์จากการดูแล ความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และอัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ญาติผู้ดูแลที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก จำนวน 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน พัฒนาโดยใช้กรอบแนวคิดการรับรู้ความสามารถตนเองของแบนดูรา ซึ่งประกอบด้วยการสอนก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล การเยี่ยมบ้าน การให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางโทรศัพท์ โดยใช้ระยะเวลาในการจัดโปรแกรมทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ และมีการติดตามผลหลังจากการทดลองอีก 2 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแตกต่างของการรับรู้ความสามารถของญาติผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และความคาดหวังผลลัพธ์จากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยประเมินก่อนการทดลอง 6 สัปดาห์หลังเริ่มโปรแกรม และระยะติดตามผลในสัปดาห์ที่ 8 โดยใช้สถิติ One-way repeated measures ANOVA</p><p>ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการรับรู้ความสามารถ และคะแนนความคาดหวังผลลัพธ์จากการดูแลผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองในสัปดาห์ที่ 6 และระยะการติดตามผลในสัปดาห์ที่ 8 ของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001) ญาติผู้ดูแลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโปรแกรมในระดับสูง และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทุกรายที่ญาติผู้ดูแลได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านในงานวิจัยครั้งนี้ไม่เกิดการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน</p><p>ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพิ่มการรับรู้ความสามารถ ความคาดหวังผลลัพธ์จากการดูแลผู้ป่วย และความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลต่อโปรแกรม นอกจากนี้พบว่าผู้ป่วยไม่เกิดการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน ดังนั้น จึงควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)}, author={ศรีจำนงค์ นิชธิมา and รวิวรกุล ทัศนีย์ and ละกำปั่น สุนีย์ and มาลาธรรม พรทิพย์}, year={2013}, month={ม.ค.} }