@article{กุลอัก_เผ่าวัฒนา_ละกำปั่น_เอื้อมณีกูล_2021, place={ิBangkok}, title={ปัจจัยทำนายความรอบรู้สุขภาพของนักเรียนที่มีพหุพฤติกรรมเสี่ยง ในระบบการศึกษานอกโรงเรียน}, volume={37}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/251176}, abstractNote={<p>บทนำ: การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบจำลองทางนิเวศวิทยาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ปัจจัยที่ศึกษาประกอบด้วย ปัจจัยระดับบุคคล ปัจจัยระดับครอบครัว และปัจจัยระดับสังคม วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความรอบรู้สุขภาพของนักเรียนที่มีพหุพฤติกรรมเสี่ยงในระบบการศึกษานอกโรงเรียน ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีพหุพฤติกรรมเสี่ยง ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เขตกรุงเทพตะวันออก จำนวน 326 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) รวบรวมข้อมูลโดยให้นักเรียนตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้สุขภาพของนักเรียนที่มีพหุพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ เพศหญิง ระดับชั้นเรียน ผลการเรียนเฉลี่ย ทัศนคติต่อการหลีกเลี่ยงพหุพฤติกรรมเสี่ยง สัมพันธภาพภายในครอบครัว การควบคุมกำกับติดตามของครอบครัว การสนับสนุนจากผู้ให้บริการสุขภาพ การจัดการเรียนการสอน ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า สัมพันธภาพภายในครอบครัว การสนับสนุนจากผู้ให้บริการสุขภาพ การจัดการเรียนการสอน เพศหญิง และผลการเรียนเฉลี่ย สามารถร่วมทำนายความรอบรู้สุขภาพของนักเรียนที่มีพหุพฤติกรรมเสี่ยงได้ร้อยละ 27.8 (R2 = 0.278, p<.05) สรุปผล: การที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาความรอบรู้สุขภาพของนักเรียนที่มีพหุพฤติกรรมเสี่ยงนั้น ประกอบไปด้วย ปัจจัยระดับบุคคล ปัจจัยระดับครอบครัว และปัจจัยระดับสังคม ซึ่งผลจากการศึกษาครั้งนี้ก็เป็นไปตามกรอบแนวคิดของแบบจำลองทางนิเวศวิทยา ข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้สุขภาพของนักเรียนที่มีพหุพฤติกรรมเสี่ยง โดยบุคลากรด้านสาธารณสุขประสานงานกับระบบการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อร่วมกันส่งเสริมการให้ความรู้ การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ และปรับทัศนคติต่อการหลีกเลี่ยงพหุพฤติกรรมเสี่ยง เน้นให้ครอบครัวมีส่วนร่วมและส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัว</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)}, author={กุลอัก พันธ์ทิพย์ and เผ่าวัฒนา อาภาพร and ละกำปั่น สุนีย์ and เอื้อมณีกูล นฤมล}, year={2021}, month={ส.ค.}, pages={86–99} }