@article{ศรีคำภา_มูลศาสตร์_ทิพย์กาญจนเรขา_2022, place={ิBangkok}, title={การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน ตำบลท่าหาดยาว อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด}, volume={38}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/249365}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>        บทนำ: </strong>การจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชนมีความสำคัญในการค้นหาปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงและช่วยให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรั้งควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p>        <strong> วัตถุประสงค์การวิจัย</strong>: การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน พัฒนารูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชนที่พัฒนาขึ้น</p> <p>        <strong> ระเบียบวิธีวิจัย</strong>: กลุ่มตัวอย่างแบ่งตามระยะการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและผู้ดูแล จำนวน 15 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมผู้ให้บริการสุขภาพ แกนนำชุมชน และผู้ประกอบการท่าทราย จำนวน 15 คน และระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 243 คน ซึ่งถูกสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 15 คน ทั้งสองกลุ่มถูกสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1)  แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม 2) แนวทางการระดมสมองฯ 3)  แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .83 และ .97 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .81 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบวิลคอกซันไซน์แรงค์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>          ผลการวิจัย: </strong>ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ อาการไอ หอบเหนื่อย เครียด น้อยใจครอบครัวที่ไม่เข้าใจการเจ็บป่วย มีความต้องการยาพ่น ผู้ดูแล รถส่งไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการฉุกเฉิน และการแก้ไขมลพิษทางสิ่งแวดล้อม 2) รูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประกอบด้วย (1) กลุ่มประชาชน ที่มีอายุ 40 ปีขึ้น ควรได้รับการคัดกรองโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่งเสริมความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง (2) กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรได้รับความรู้และการอบรมเชิงปฏิบัติการ (3) กลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการและการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ และ 3) รูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชนที่พัฒนาขึ้น ทำให้ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรค พฤติกรรมการจัดการโรค และสมรรถนะทางปอดของกลุ่มตัวอย่าง ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  </p> <p><strong>           สรุปผล: </strong>รูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน ทำให้มีการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประชาชนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป กลุ่มเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยรูปแบบการจัดการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรั้งในชุมชนได้รับการทดสอบและพบว่ารูปแบบฯ ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ในทางที่ดีต่อกลุ่มตัวอย่าง</p> <p><strong>          ข้อเสนอแนะ:</strong> รูปแบบในการจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชนสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในพื้นที่อื่นที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมป้องกันโรคและโปรแกรมควบคุมโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในพื้นที่ศึกษาได้</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)}, author={ศรีคำภา สิรวิชญ์ and มูลศาสตร์ สุทธีพร and ทิพย์กาญจนเรขา กฤษณาพร}, year={2022}, month={เม.ย.}, pages={197–212} }