@article{อ้วนล่ำ_แป้นโพธิ์กลาง_2021, place={ิBangkok}, title={พลังสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต}, volume={37}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/249299}, abstractNote={<p>บทนำ: พลังสุขภาพจิตช่วยให้บุคคลที่มีภาวะเครียดสามารถเผชิญปัญหาและอุปสรรคในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายและจิตใจตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงอันตรายรุนแรงต่อชีวิต วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2-4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2562 จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพลังสุขภาพจิต และแบบประเมินความเครียดสวนปรุง แบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .84 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาพยาบาลมีพลังสุขภาพจิตอยู่ระดับปกติ (Mean = 63.84, SD. = 7.39) และร้อยละ 38.97 มีความเครียดอยู่ระดับปานกลาง นักศึกษาพยาบาลที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และลักษณะครอบครัวที่ต่างกัน มีพลังสุขภาพจิตและความเครียดไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ ระดับชั้นปีที่ศึกษา บรรยากาศในครอบครัว และสถานะทางการเงินที่ต่างกัน มีพลังสุขภาพจิตและความเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และพลังสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียด (r= -.473, p<.001) สรุปผล: พลังสุขภาพจิตช่วยให้นักศึกษาพยาบาลจัดการกับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเผชิญปัญหาได้ดียิ่งขึ้น มีความเครียดลดลง ข้อเสนอแนะ: ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาควบคู่ไปกับการฝึกทักษะการจัดการกับความเครียดให้สอดคล้องกับบริบทของนักศึกษาพยาบาล</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)}, author={อ้วนล่ำ ฐิตินันท์ and แป้นโพธิ์กลาง ศุภรัตน์}, year={2021}, month={เม.ย.}, pages={240–251} }