@article{ธรรมรักษา_เผ่าวัฒนา_มีกลิ่นหอม_บุญลือ_2021, place={ิBangkok}, title={ประสบการณ์การทำพหุพฤติกรรมเสี่ยงผ่านการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาหญิง: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา }, volume={37}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/248845}, abstractNote={<p>บทนำ อุบัติการณ์ของพหุพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นหญิงไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่น่าสนใจคือ การค้นหาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการทำพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น ที่ผ่านมาเน้นที่พฤติกรรมเสี่ยงชนิดเดียว และขาดการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยสาเหตุและประสบการณ์การทำพหุพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นหญิงอย่างลึกซึ้ง วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาประสบการณ์การทำพหุพฤติกรรมเสี่ยงผ่านการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาหญิง ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มกับนักเรียนมัธยมศึกษาหญิงที่มีพหุพฤติกรรมเสี่ยง 16 คน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่านักเรียนมัธยมศึกษาหญิงทั้ง 16 คน มีประสบการณ์ในการทำพหุพฤติกรรมเสี่ยงตั้งแต่ 2 ถึง 8 พฤติกรรม ส่วนใหญ่เริ่มจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลังจากนั้นทำพฤติกรรมเสี่ยงชนิดอื่น ๆ ตามมาภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน สถานการณ์ที่เปิดโอกาสให้ทำพหุพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ฉลองสอบเสร็จ การเข้าค่ายนอกสถานที่ และการไปบ้านรุ่นพี่ เป็นต้น ปัจจัยสาเหตุสำคัญของการทำพหุพฤติกรรมเสี่ยง ส่วนใหญ่ยอมรับว่าตนเองขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการควบคุมพหุพฤติกรรมเสี่ยง เนื่องจากไม่กล้าปฏิเสธเพื่อน เพราะกลัวเพื่อนไม่พอใจ และกลัวเข้ากับกลุ่มเพื่อนไม่ได้ นักเรียนมัธยมศึกษาหญิงมีความตั้งใจเป็นพื้นฐานของการทำพหุพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ จึงไม่เคยหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมเสี่ยงเมื่อมีโอกาส สรุปผล สาเหตุการเกิดพหุพฤติกรรมเสี่ยงในนักเรียนมัธยมศึกษาหญิง คือ การมีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพหุพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ และมีความตั้งใจในการหลีกเลี่ยงพหุพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนารูปแบบการป้องกันพหุพฤติกรรมเสี่ยงสำหรับวัยรุ่นหญิงที่เน้นส่งเสริมการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพหุพฤติกรรมเสี่ยง และความตั้งใจในการหลีกเลี่ยงพหุพฤติกรรมเสี่ยง พยาบาลควรทำความเข้าใจความต้องการเฉพาะในวัยรุ่นหญิง เพื่อลดโอกาสในการทำพหุพฤติกรรมเสี่ยง</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)}, author={ธรรมรักษา พิมพ์รัตน์ and เผ่าวัฒนา อาภาพร and มีกลิ่นหอม ยุทธนา and บุญลือ สุรพล}, year={2021}, month={เม.ย.}, pages={112–127} }