@article{จันทขัมมา_2021, place={ิBangkok}, title={รูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนในระบบการศึกษาทางไกล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช}, volume={37}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/248777}, abstractNote={<p>บทนำ: การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต สำหรับเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน (จพ.) ด้วยระบบการศึกษาทางไกล เป็นอีกคำตอบที่สามารถสร้างพยาบาลวิชาชีพ ที่มีภูมิลำเนาเกิดในอยู่ในชุมชนและเข้าใจบริบทของชุมชนได้เป็นอย่างดี วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนในระบบการศึกษาทางไกล เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านการปฏิบัติการพยาบาลที่พึงประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัย: ผู้วิจัยใช้ AUN-QA ระดับหลักสูตรเป็นกรอบแนวคิด ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนและระบบการศึกษาทางไกล จำนวน 6 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตามแนวคำถามหลักที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้เวลาสัมภาษณ์ 45-60 นาทีต่อครั้ง ผู้วิจัยถอดเทปแบบคำต่อคำ วิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้ Content analysis และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ผลการวิจัย: พบว่า 1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับชุดวิชาอนามัยชุมชน ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สำหรับเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ 3 ข้อ 2) รูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในระบบการศึกษาทางไกลมี 3 รูปแบบ คือ (1) การฝึกปฏิบัติการพยาบาลประจำชุดวิชา (2) การฝึกปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะกรณี และ(3) การฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบเข้ม สรุปผล: รูปแบบการฝึกปฏิบัติทั้ง 3 รูปแบบ เป็นรูปแบบที่เหมาะสมต่อระบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในระบบการเรียนการสอนทางไกล เพราะผู้เรียนได้ฝึกทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติการพยาบาลชุดวิชาการพยาบาลชุมชนจากรูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลประจำชุดวิชา และได้ฝึกปฏิบัติการพยาบาลรายกรณีตามกิจกรรมและการพยาบาลที่กำหนดจากผลลัพธ์การเรียนรู้จากรูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะกรณี และ ได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความรู้และทักษะทางการพยาบาลตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ตามที่ชุดวิชาการพยาบาลชุมชนกำหนด โดยมีการประมวลความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเรียนตลอดภาคการศึกษามาใช้ในการพยาบาลชุมชนและการตรวจรักษาโรคเบื้องต้นจากรูปแบบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบเข้มข้อเสนอแนะ: รูปแบบต่าง ๆ ของการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในระบบการศึกษาทางไกลทั้ง 3 รูปแบบ ต้องร่วมมือกับอาจารย์สอนเสริมปฏิบัติการพยาบาลและพยาบาลพี่เลี้ยงในการถ่ายทอดความรู้และความสามารถทางการพยาบาลสู่นักศึกษา จึงควรจัดระบบที่ทำให้ผู้ร่วมสอนและผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการฝึกปฏิบัติ เช่น หลักสูตรอบรมและสัมมนาผู้ร่วมสอน เป็นต้น</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)}, author={จันทขัมมา นภาเพ็ญ}, year={2021}, month={เม.ย.}, pages={51–64} }