@article{มะยิ_เวชประสิทธิ์_แซ่เซี้ย_2021, place={ิBangkok}, title={ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดแผลกดทับของผู้ดูแล และอุบัติการณ์ การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพา}, volume={37}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/248333}, abstractNote={<p><strong>บทนำ</strong>: แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพา ผู้ดูแลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเกิดแผลกดทับให้แก่ผู้ป่วย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์การวิจัย</strong>: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดแผลกดทับของผู้ดูแล และอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพา</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย:</strong> การวิจัยกึ่งทดลอง แบบวัดซ้ำสองกลุ่ม เก็บข้อมูลในผู้ดูแลและผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพาที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคใต้ โดยผู้ป่วยและผู้ดูแล 25 คู่แรก จัดเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลแบบปกติ และ 25 คู่หลัง จัดเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการดูแลเสริมด้วยโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแล แบบสอบถามพฤติกรรมของผู้ดูแล และแบบประเมินสภาพผิวหนัง โดยโปรแกรมฯ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดรรชนีความตรงตามเนื้อหา .85 ถึง 1.0 ตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและแบบสอบถามพฤติกรรมของผู้ดูแล กรณีผู้ป่วยได้รับอาหารทางปากและได้รับอาหารทางสายยาง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .76 ถึง .95 และตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบประเมินสภาพผิวหนัง โดยวัดความเท่าเทียมกันของการสังเกต มีค่า .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบของฟิชเชอร์ สถิติทีอิสระ สถิติความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และสถิติความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> ผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดแผลกดทับฯ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมครบ 3 วัน และหลังผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลวันที่ 7 สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F<sub>1.23, 29.58</sub>=105.27, p<.001 และ F<sub>1.11,26.55</sub>=112.72, p<.001 ตามลำดับ) ผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดแผลกดทับฯ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมครบ 3 วัน (<sub>F1,48</sub>=24.56, p<.001) และหลังผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลวันที่ 7 (F<sub>1,48</sub>=14.54, p< .001) แตกต่างจากผู้ดูแลกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับทั้งวันที่ 3 และวันที่ 7 หลังผู้ป่วยจำหน่ายจากโรงพยาบาล น้อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มควบคุม (ร้อยละ 20) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.05 และ p=.05 ตามลำดับ)</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนสามารถส่งเสริมความมั่นใจและพฤติกรรมของผู้ดูแลในการป้องกันการเกิดแผลกดทับให้แก่ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพาในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านได้</p> <p><strong>ข้อเสนอแนะ:</strong> พยาบาลควรส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีสมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพา เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับให้แก่ผู้ป่วย</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)}, author={มะยิ นอวาตี and เวชประสิทธิ์ รัดใจ and แซ่เซี้ย วิภา}, year={2021}, month={ต.ค.}, pages={89–104} }