@article{ศรีชัยรัตนกูล_อภิสิทธิวาสนา_เทียมหมอก_2020, place={ิBangkok}, title={มุมมองของครูที่มีต่อการติดเกมของเด็กนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2 จังหวัดนครปฐม}, volume={36}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/247023}, abstractNote={<p>ปัจจุบันเยาวชนไทยเล่นเกมมากขึ้น นำไปสู่ผลกระทบเชิงลบต่อการศึกษา การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และภาวะสุขภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของครูต่อสถานการณ์การติดเกม ปัจจัยส่งเสริมการเล่มเกม และแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาการติดเกมของเด็กนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา 2 จังหวัดนครปฐม ประชากร คือ ครูที่สอนประจำในโรงเรียนในสังกัดการประถมศึกษาขึ้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา 2 อำเภอพุทธมณฑล และ อำเภอนครนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ในปีการศึกษา 2560 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างถูกเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 121 คน โดยมีเกณฑ์คัดเข้าคือ ปฏิบัติการอยู่ในโรงเรียนที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นครูประจำชั้น และ/หรือมีประสบการณ์ที่มีนักเรียนในชั้นเรียนของตนเล่นเกม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ปัจจัยส่วนบุคคล และแนวคำถามสำหรับสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>          ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่ไม่ติดเกม มีความสนใจในการเรียนดี เพราะผู้ปกครองและครูดูแลใกล้ชิด มีการส่งเสริมการทำกิจกรรมที่หลากหลาย และครูไม่อนุญาตให้เด็กนักเรียนนำโทรศัพท์มาใช้ที่โรงเรียน แต่อย่างไรก็ตามยังมีนักเรียนบางส่วนติดเกม โดยใช้เวลาเล่นเกมหลังเลิกเรียน หรือ</p> <p>วันหยุด เพราะมีเพื่อน หรือคนในครอบครัวเล่น ผู้ปกครองบางครอบครัวไม่มีเวลาดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่จำกัดเวลาในการเล่นเกม และอนุญาตให้เล่นเกมเพื่อตัดปัญหาลูกหลานรบกวนการทำงาน มีร้านเกมใกล้บ้านและโรงเรียน  จากมุมมองของครูผู้สอนเห็นว่านโยบายระดับประเทศในการป้องกันการเล่นเกมของเด็กนักเรียนยังไม่ชัดเจน นโยบายด้านการศึกษาบางประเด็นเอื้อให้เด็กมีเวลาเล่นเกมมากขึ้น สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันและแก้ไข คือ 1) ระดับบุคคล: การเสริมสร้างการรู้เท่าทันเกมให้กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง 2) ระดับระหว่างบุคคล: ผู้ปกครองและโรงเรียนส่งเสริมให้เด็กนักเรียนทำกิจกรรมอย่างอื่น การให้ข้อมูลสถานการณ์การติดเกมและผลกระทบกับผู้ปกครอง การส่งเสริมให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานให้ใกล้ชิดมากขึ้น และการกำกับการเล่นเกมของเด็กนักเรียน 3) ระดับองค์กร ชุมชน และรัฐบาล: กำหนดนโยบายเพื่อลดช่องทางการเข้าถึงเกมของเด็กนักเรียนอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาเด็กติดเกม  ผู้ปกครอง ครู และชุมชนควรร่วมมือกันในการส่งเสริมให้นักเรียนได้รู้เท่าทันเกม มีการส่งเสริมการใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทั้งที่บ้านและโรงเรียน และการดูแลสิ่งแวดล้อมรอบๆ บ้านและโรงเรียนให้ปลอดจากสิ่งยั่วยุที่จะส่งเสริมให้เด็กนักเรียนในการเล่นเกมมากขึ้น</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)}, author={ศรีชัยรัตนกูล เจียมใจ and อภิสิทธิวาสนา นิภาพร and เทียมหมอก มณีรัตน์}, year={2020}, month={พ.ย.}, pages={244–258} }