@article{รักษาธรรม_วรรณสันทัด_2020, place={ิBangkok}, title={ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานผ่านชุมชนการเรียนรู้ วิชาชีพต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาล}, volume={36}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/247020}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพต่อทักษะการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาล และ 2) ศึกษาการรับรู้ถึงพัฒนาการสอนของอาจารย์พยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก จำนวน 5 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ จำนวน 76 คน เข้าร่วมในการวิจัย</p> <p>การจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย 5 ระยะ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์สภาพการณ์ (Analyze) 2) การวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan) 3) การปฏิบัติและสังเกตการณ์ (Do and See) ผู้สอนจัดการเรียนการสอนโดยมีอาจารย์ผู้ร่วมชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพร่วมสังเกตการสอน โดยเริ่มจากการแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่มละ 4 คน คละเด็ก เก่ง กลาง อ่อน ให้นักศึกษาทำแบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาก่อนการเรียน หลังจากนั้นอาจารย์ผู้สอนนำเสนอกรณีศึกษา 4 ราย นักศึกษาแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ อภิปรายกรณีศึกษาและนำเสนอผลการวิเคราะห์ อาจารย์ผู้สอนอภิปรายเพิ่มเติมและสรุปเนื้อหาสำคัญ ใช้เวลารวม 3 ชั่วโมง 4) การสะท้อนผล (Reflect) ผู้สอนให้นักศึกษาตอบแบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน แบบประเมินการจัดการเรียนการสอน และอาจารย์ผู้สอน และอาจารย์ผู้ร่วมชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพตอบแบบประเมินการจัดการเรียนการสอน 5) เรียนรู้และพัฒนา (Redesign)  ผู้สอนนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากระยะที่ 4 ไปปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ในปีต่อไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และ สถิติทดสอบที (Paired dependent t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) คะแนนทักษะการแก้ปัญหาการพยาบาลเด็กที่มีภาวะช็อกและอวัยวะล้มเหลวหลายระบบของนักศึกษาภายหลังการเรียนรู้ (Mean= 10.51, SD = 1.79) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน (Mean= 8.19, SD = 2.30) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t (75) = 7.81, p < 0.001)  2) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean= 4.25, SD = 0.64) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านวิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านบรรยากาศการเรียนการสอน พบว่ามีความพึงพอใจระดับมากที่สุดทั้ง 3 ด้าน เช่นกัน และ 3) อาจารย์ผู้สอนมีการรับรู้ถึงการพัฒนาการสอนจากการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานผ่านชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ</p> <p>สรุปได้ว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพมีประสิทธิผลในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาลและพัฒนาการสอนของอาจารย์</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)}, author={รักษาธรรม โสภา and วรรณสันทัด สุภาพร}, year={2020}, month={พ.ย.}, pages={220–232} }