@article{ทิพย์วารีรมย์_ชลายนเดชะ_ห่านรุ่งชโรทร_2020, place={ิBangkok}, title={ปัจจัยทำนายการใช้ถุงยางอนามัยในนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนปลาย}, volume={36}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/246433}, abstractNote={<p>     แนวโน้มการใช้ถุงยางอนามัยของนักเรียนเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากยุทธศาสตร์ถุงยางอนามัยแห่งชาติของกระทรวงสาธารณสุข แต่อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นและเยาวชน อายุ 15-24 ปี ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยทำนายการใช้ถุงยางอนามัยในนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้กรอบแนวคิด Information-Motivation-Behavioral skills model กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชายที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก 10 โรงเรียน จำนวน 448 คน ปีการศึกษา 2561 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจการใช้ถุงยางอนามัย ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความรู้เรื่องถุงยางอนามัย ทัศนคติในการใช้ถุงยางอนามัย การพูดคุยสื่อสารเรื่องเพศกับครอบครัวและความสะดวกใจในการพูดคุยเรื่องเพศกับครอบครัว อิทธิพลของเพื่อน และ ความสามารถของตนเองในการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงตามเกณฑ์มาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์</p> <p>     ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีอายุมาก ผลการเรียนเฉลี่ยน้อย มีการพูดคุยเรื่องเพศกับครอบครัว และความสะดวกใจในการพูดคุยเรื่องเพศมาก ได้รับอิทธิพลของเพื่อนมาก และมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการใช้ถุงยางอนามัยมาก จะมีโอกาสใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้นอย่างนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) เมื่อนำมาวิเคราะห์หาสมการปัจจัยทำนายการใช้ถุงยางอนามัยในนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถเขียนสมการถดถอย (y) = -0.497 + 0.118 (อายุ) - 0.240(ผลการเรียนเฉลี่ย) + 0.223(การพูดคุยเรื่องเพศกับครอบครัว)+0.026(ความสะดวกใจในการพูดคุยเรื่องเพศ)+0.073 (อิทธิพลเพื่อน)+0.016(การรับรู้ความสามารถของตนเองในการใช้ถุงยางอนามัย) มีอำนาจการทำนายร่วม  ร้อยละ 15.6 (Nagellkerke R<sup>2</sup> = 0.156) ผลการศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยในนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)}, author={ทิพย์วารีรมย์ วรวรรณ์ and ชลายนเดชะ ชุติมา and ห่านรุ่งชโรทร อุมาพร}, year={2020}, month={พ.ย.}, pages={69–79} }