@article{ไพบูลย์ธนานนท์_จิมวรพิพัฒน์_รังษา_2021, place={ิBangkok}, title={ผลการใช้สื่อวิดิทัศน์ เรื่องการเช็ดตา หยอดตาและป้ายตาสำหรับการปฏิบัติการพยาบาลในคลินิก ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ}, volume={37}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/245837}, abstractNote={<p>บทนำ: การพยาบาลจักษุเป็นการพยาบาลที่สำคัญเพราะจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อและตาบอดตามมาได้ถ้าปฏิบัติไม่ถูกวิธี ดังนั้นสื่อวิดิทัศน์ เรื่องการเช็ดตา การหยอดตาและการป้ายตา จะทำให้นักศึกษาพยาบาลมีความรู้และเข้าใจการทำหัตถการก่อนฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยและสามารถสอนผู้ป่วยและญาติเพื่อกลับไปปฏิบัติที่บ้านได้ถูกต้องอีกด้วย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อวิดิทัศน์ เรื่องการเช็ดตา การหยอดตาและการป้ายตาสำหรับการ ปฏิบัติการพยาบาลในคลินิกของนักศึกษาพยาบาล ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ใช้กระบวนการพัฒนาสื่อแบบ ADDIE Model ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน พ.ศ. 62 ประกอบด้วย ขั้นการพัฒนาสื่อวิดิทัศน์ และ ขั้นประเมินประสิทธิภาพสื่อโดยการสอบทักษะปฏิบัติ และ ความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คนได้มาจากการคัดเลือกนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ที่ฝึกปฏิบัติงานหอผู้ป่วยจักษุ และหู คอ จมูก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อการสอนเรื่องการเช็ดตา หยอดตาและป้ายตาซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพสื่อวีดิทัศน์และด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการเรื่องการเช็ดตา หยอดตา มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ของแอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.93 และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อสื่อการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย: 1) คุณภาพของสื่อวิดิทัศน์และความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเรื่องการเช็ดตา การหยอดตาและการป้ายตา มีค่าดัชนีความสอดคล้องชองรายการประเมิน เท่ากับ 0.6-1.00 2) ผลการสอบทักษะการปฏิบัติการเช็ดตา หยอดตา พบว่านักศึกษามีความรู้และทักษะในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 75 มีความรู้และทักษะในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 10 มีความรู้และทักษะในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 5 มีความรู้และทักษะในระดับควรปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 10 3) ความพึงพอใจต่อสื่อวิดิทัศน์โดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.75 (SD= .31) และความพึงพอใจรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาและการนำเสนอ ด้านส่วนประกอบทั่วไปของสื่อ ด้านภาพประกอบและด้านเสียงภาษา สรุปผล: สื่อวิดิทัศน์ เรื่องการเช็ดตา การหยอดตาและการป้ายตา มีประสิทธิภาพเหมาะสมในการเรียนการสอนนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาล ข้อเสนอแนะ: จากการวิจัยพบว่าสื่อที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ นักศึกษาพยาบาลควรนำไปใช้ในการทบทวนความรู้ด้วยตนเอง และสามารถใช้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านทักษะก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ)}, author={ไพบูลย์ธนานนท์ จินตนา and จิมวรพิพัฒน์ ศรีสุนทรา and รังษา จินตนา}, year={2021}, month={พ.ย.}, pages={280–289} }