ความรู้และพฤติกรรมการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ KNOWLEDGE AND BEHAVIOR OF APPLYING PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY IN LIVING OF NURSING STUDENTS

ผู้แต่ง

  • เจียมใจ ศรีชัยรัตนกูล
  • ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์
  • เกษร สุวิทยะศิริ

คำสำคัญ:

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ความรู้และพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต, นักศึกษาพยาบาลศาสตร์, philosophy of sufficiency economy, knowledge and behaviors for application in life, nursing student

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเชิงพรรณนาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปี 1 และ 4 และ 3) ศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรทั้งหมด ประกอบด้วย นักศึกษาพยาบาลศาสตร์  ชั้นปี 1 และ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ จำนวน 290 คน โดยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบประเมินพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.78 และ 0.81 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (Independent t-test) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 และ 4 มีความรู้เกี่ยวกับปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับสูง (M = 17.66, SD = 1.49; M = 17.81, SD = 1.44  ตามลำดับ) และมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับปานกลาง (M = 126.84, SD = 10.55; M = 133.26, SD = 10.10  ตามลำดับ)  การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความรู้ และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปี 1 และ 4 ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า การมีเงินออมสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า วิทยาลัยฯ ควรมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร เพื่อให้สามารถนำหลักการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดความต่อเนื่องมากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย