การจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม SELF-MANAGEMENT IN OLDER ADULTS WITH METABOLIC SYNDROME

ผู้แต่ง

  • กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, ภาวะเมตาบอลิกในผู้สูงอายุ, self-management, older adults with metabolic syndrome

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         ประเทศไทยเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าประชากรสูงอายุในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า (12.9 ล้านคน) ในปี ค.ศ. 2025 และเกิน 20 ล้านคนในปี 2050 (United Nations Population Fund [UNFPA], 2006) อัตราประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้อัตราโรคเรื้อรังสูงเพิ่มขึ้นด้วย (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขไทยปี 2007 องค์การอนามัยโลก [WHO], 2012) ในประเทศไทยความชุกของภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ในปี 2003-2004 เพิ่มขึ้นจาก 9.5% ในกลุ่มอายุ 20-39 เป็น 24.7% ในกลุ่ม 50 ปีขึ้นไป ในผู้หญิงเพิ่มจาก 7% เป็น 29.5% เมื่ออายุมากขึ้น (Pongchaiyakul, Nguyen, Wanothayaroj, Karusan, & Klungboonkrong, 2007).

         การจัดการตนเองได้รับการวิจารณ์อย่างแพร่หลายมากในวรรณกรรมของทศวรรษที่ผ่านมาในด้านการนำมาใช้สำหรับปรับพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเรื้อรังหลายโรค เช่นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคข้ออักเสบ โดยมีองค์ประกอบการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องของการรับประทานยา การออกกำลังกาย การจัดการอาหารและน้ำหนัก และพฤติกรรมเกี่ยวกับโรคที่เฉพาะเจาะจง บทความนี้ต้องการนำเสนอเนื้อหาครอบคลุมในเรื่อง สถานการณ์ของภาวะเมตาบอลิก  แนวคิดการจัดการตนเอง การจัดการตนเองในผู้สูงอายุภาวะเมตาบอลิกซินโดรม และข้อเสนอแนะในการนำไปปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ในการนำแนวคิดการจัดการตนเองไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังต่อไป

Abstract

         Thailand faces a rapidly growing of older people population, by expecting that population of older adults in Thailand will be double (12.9 millions)   in 2025, and will exceed 20 millions in 2050 (United Nations Population Fund [UNFPA], 2006).

         Augmentation of aging population increased the prevalence of chronic diseases (Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health Thailand, 2007; World Health Organization [WHO], 2012).  In Thailand, the prevalence of metabolic syndrome (MetS) from 2003-2004  increased from 9.5 % in male and 7 % in female among the group of 20-39 years old to 24.7 % in male and 29.5 % in female among the group of  50 years and over  (Pongchaiyakul, Nguyen, Wanothayaroj, Karusan, & Klungboonkrong, 2007).

        Self-management has received much criticism in the health behaviors and health education literature in the past decade. It has been applied to promote appropriated health behaviors in the patients with chronic illnesses, such as heart disease, diabetes, and arthritis by emphasizing on following significant self-management components, including regimens of medication, physical activity, dietary and weight management, and specific disease-related behaviors. This article aimed to present content related to the situation of Mets, concepts of self- management, self-management in older adults with metabolic syndrome, and application of self- management to promote self- care behaviors in the older adults with chronic illness.  

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ