ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • เรืองศิลป์ เตชะบุญญะ แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุทธีพร มูลศาสตร์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคเบาหวาน, โรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

บทนำ : การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและนำไปสู่ผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีในการป้องกันโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมโรคไม่ได้ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด อัตราการกรองของไต และระดับโปรตีนในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ที่อาศัยในอำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิได้จำนวนตัวอย่างกลุ่มละ 35 คน เมื่อสิ้นสุดโปรแกรม กลุ่มทดลองเหลือ 32 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมพัฒนาการความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง มีระยะเวลา 12 สัปดาห์ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการและการเยี่ยมบ้าน 2) คู่มือความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการชะลอไตเสื่อมจากโรคเบาหวาน 3) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเอง มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และ .99 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .95 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติทดสอบที และสถิตินอนพาราเมตริก ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไตมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนระดับน้ำตาลในเลือดและระดับโปรตีนในปัสสาวะมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปผล: โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง ส่งผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกในการชะลอไตเสื่อมจากโรคเบาหวาน ข้อเสนอแนะ: ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 155-182 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีอัตราการกรองของไตและโปรตีนในปัสสาวะที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงปานกลาง ควรได้รับการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพตามโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ

References

World Health Organization [WHO]. Global report on diabetes. [Internet]. 2012. (2018, March19) Available from: http://appswho.int/iris/bitstream/handle/10665/204871/9789241565257_eng.pdf;jsessionid=B4B8381EEA800DAA435517ED043675A9?sequence=1

Health Data Center Ministry of Public Health. [Internet]. 2019 [cited 2019 May 7]. Available from: https://hdc.moph.go.th (in Thai).

International Diabetes Federation. IDF diabetes atlas 8th edition: Keymessage. [Internet].2017 Available from: http://www.diabetesatlas.org/key-messages.html.

KDIGO. (KDOQI US Commentary on the 2012). Clinical practice guideline for the evaluation and management of CKD. Am J Kidney Dis 2014;63(5):713-35.

Thai-SEEK Group. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant. 2010;25:1567-75. (in Thai)

Bureau of Non-communicable Diseases Department of Disease Control. Handbook for chronic kidney disease management for village health volunteers. (2nd edition). Nonthaburi: Printing House. 2017. (in Thai).

Chronic non-communicable diseases Bureau of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Action guide for reducing chronic kidney disease CKD in diabetes and hypertension patients. Nonthaburi: Printing House, 2015. The Veterans Welfare Organization Under royal patronage. (in Thai).

Baker D. Health literacy and mortality among elderly persons. Arch Intern Med.2007;167(14):1503-9.

Cavanaugh K, Wallston K., Gebretsadik T, Shintani A, Huizinga M, Davis D, Rothman RL. Addressing literacy and numeracy to improve diabetes care: two randomized controlled trials. Diabetes Care 2009;32(12):2149–55.

Dewalt DA, Berkman ND, Sheridan S. Literacy and Health outcomes. Journal of General International Medicine 2004;19:1228-39.

Edwards M, Wood F, Davies M, Edwards A. The development of health literacy in patients with a long- term health condition: the health literacy pathway model. BMC Public Health 2012;12(130):1-15. doi./10.1186/1471-2458-12-130.

Bailey S, Brega A, Crutchfield T, Elasy T, Herr H, Kaphinggst K, et al. Update on health literacy and diabetes. Diabetes Educ 2014;(5):581-604.

Pannark P, Moolsart S, Kaewprom C. The effectiveness of a program for health literacy development of the patients with uncontrolled type 2 diabetes at Bangwua district, chachoengsao province. Nursing Journal of the Ministry of Public Health Research 2016;27(3):91-106 (in Thai).

Runtpongsai P, La Kampan S, Piyapinyo P. Effects of drug use education program on drug use health intelligence and drug use cooperation of patients type 2 diabetes who cannot control sugar levels. Journal of Nursing Council 2016;31(4),50-61. (in Thai).

Sarin S, Moolsart S, Chai Limpamontri W. Effectiveness of the health literacy development program in patients with type 2 diabetes mellitus at risk of chronic kidney disease. Journal of Nursing, Ministry of Public Health 2019;29(2):86-101. (in Thai).

Phichit Provincial Agriculture Office. Trade and Economic Regulatory Development Commerce in Phichit. [Internet]. 2021. [cited 2021 Feb 20]. Available from: http://www.phichit.doae.go.th ID:PMC4014960. (in Thai).

Bloom BS, Hastings TJ, Madaus GF. Hand Book on Formative and Summative. Evaluation of student learning. New York: McGraw – Hill; 1971.

Prom A, Thiangtham W, Pichayapinyo P. Chronic kidney disease preventing program among uncontrolled diabetic patients. Journal of Public Health Nursing 2017;30(3):102-17. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-13