การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับอาจารย์พยาบาล

ผู้แต่ง

  • ขวัญตา บุญวาศ
  • จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร
  • สุภาพร วรรณสันทัด
  • ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยผ่าน ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับอาจารย์พยาบาล โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 6 ระยะ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ สภาพการณ์ 2) การพัฒนารูปแบบ 3) การทดลองใช้รูปแบบครั้งที่ 1 4) การทดลองใช้รูปแบบครั้งที่ 2 5) การนำรูปแบบไป ใช้ จริงและ 6) การประเมินประสิ ทธิ ผลของรูปแบบกลุ่มตัวอย่าง คืออาจารย์พยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ จำนวน 42 คน และนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 รุ่น 70 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ที่ลงทะเบียน เรียนในปีการศึกษา 2560-2561 จำนวน 143 คน ผลการวิจัยพบว่า: 1. รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLERNS model) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 1) Plan (การวางแผนในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วยการเตรียมผู้สอนและการเตรียมการจัดการเรียนรู้) 2) Learning management (การปฏิบัติการจัดการเรียนรู้) 3) Evaluation (การประเมินผลการจัดการเรียนรู้) 4) Reflection (การสะท้อนคิดการจัดการเรียนรู้) 5) New Design (การออกแบบการจัดการเรียนรู้ใหม่) และ 6) Support (การสนับสนุน การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง) 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เจตคติ และทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของอาจารย์ ภายหลังการใช้รูปแบบ PLERNS สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจ ของอาจารย์ภายหลังการใช้รูปแบบ PLERNS เพิ่มขึ้นตามลำดับ ครั้ง 1, 2, 3 เท่ากับ 51.63, 61.18, 71.50 คะแนนตาม ลำดับ 4. จำนวนนักศึกษาที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านความรู้ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยอาจารย์เพิ่มขึ้นตามภาคการศึกษา โดยภาคการศึกษาที่ 1/2560, 2/2560, 1/2561 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 9.79 64.34, 67.13 ตามลำดับ 5. จำนวนนักศึกษาที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาผ่านเกณฑ์การประเมินโดยอาจารย์เพิ่มขึ้นตามภาคการศึกษา โดยภาคการศึกษา ที่ 1/2560, 2/2560, 1/2561 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 14.69, 100, และ 100 ตามลำดับ 6. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการ จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ PLERNS เพิ่มขึ้นตามภาคการศึกษาโดยค่าเฉลี่ยของภาคการศึกษา 1/2560, 2/2560, 1/2561 เท่ากับ 4.26, 4.26, และ 4.37, ตามลำดับ สรุปได้ว่ารูปแบบ PLERNS มีประสิทธิผลในการพัฒนาความรู้ เจตคติ และทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์และ พัฒนาความรู้และทักษะทางปัญญาของนักศึกษา

References

1. Dejakupt P, Yindeesuk P. Instructional Management in 21st Century. Bangkok: Chulalongkorn University; 2014. (in Thai).

2. Panich V, Learning Strategies for Leaners in 21st Century. Bangkok: Tathata; 2012. (in Thai).

3. Wongmeejong C, Naipat O. Competency of Thai teacher in 21st century: Wind of change. Journal
of HR Intelligence 2017;12(2):47- 62. (in Thai).

4. Office of the National Education Commission. The National Education Act B.E. 2542, amendments
(2nd Edition) B.E. 2545, and amendments B.E.2553. Bangkok: Prikwhan Graphic; 2010. (in Thai).

5. Pornkul C. Teaching of Thinking Process, Theory and Implementation. Bangkok: Chulalongkorn University; 2014. (in Thai).

6. Dufour R. Professional learning community: A Bandwagon, an idea worth considering, or our best
hope for high levels of learning?. Middle School Journal 2007; 39(1): 4-8. (in Thai).

7. Chaichaowarat R. Professional learning community: PLC. In Serirat B, Triwaranyu C, Chaichaowarat
R. editors. 9 Ways to Create Teacher to Disciples (internet). 2015 (cited 2017 December 10).
Available: https://www.plc2learn.com/ attachments/view/?attach_id=88075. (in Thai)

8. Suttarat S, Somkumlung P. A study of the critical thinking abilities of nursing students at a
Boromarajonani College of Nursing Nakhon Phanom. Nursing Journal of the Ministry of Public
Health 2012;22(1):61-67. (in Thai).

9. Dejakupt P, Yindeesuk P. 7C Skills of Instructor 4.0. Bangkok: Chulalongkorn University; 2017. (in Thai).

10. Pusitrattanavalee S, Jinnge P, Yimsud C. Active learning instructional model of teachers in
Southern College Technology. Journal of Southern Technology 2017;10(1):151-58. (in Thai).

11. Pirtle SS, Tobia E. Implementing effective professional learning communities. SEDL Insights
(internet). 2014 (cited 2017 December 10). Available: http://www.sedl.org/insights/2-3/
implementing_effective_professional_learning_ communities.pdf (in Thai).

12. Phuangsomjit C. Professional learning community and guidelines for application in educational
institutions. STOU Education Journal 2017;10(1):34-41. (in Thai).

13. Triwaranyu C. Development of professional learning community through lesson study: an approach
and guideline for success. Journal of Education Studies 2017;45(1):299-319. (in Thai).

14. Knowles M, Holton E, Swanson R. The Adult Learner (5th ed.). Houston, TX: Gulf Publishing; 1998.

15. Dogan S, Adams A. Effect of professional learning communities on teachers and students:
reporting updated results and raising questions about research design. School Effectiveness and
School Improvement: An International Journal of Research, Policy, and Practice (internet). 2018
(cited 2018 Noverber 1). Available: http://www.tandfonline.com/loi/ nses20. Doi: 10.1080/
09243453.2918.1500921.

16. Tirapaiwong Y, Teerawatskul S, Jermworapipat S. Watthanachai P. The Development of an
instructional model based on cooperative learning by using VARK learning styles on knowledge
and learning with happiness of nursing student. Journal of Boromarajonani College of Nursing,
Bangkok 2017;33(2):1-13. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-29