วารสารสถาบันบำราศนราดูร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal <h3 style="text-align: center; color: #3399ff;"><strong>"รับ</strong><strong>บทความภาษาอังกฤษ</strong><strong>ทั้งในและต่างประเทศ"</strong></h3> <div> </div> <div style="text-align: justify;"> วารสารสถาบันบำราศนราดรู มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านสาธารณสุข ได้แก่ การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ ระบาดวิทยา การสอบสวนโรค อนามัยสิ่งแวดล้อม การแพทย์ การพยาบาล การพัฒนาคุณภาพงาน การตรวจพิเศษ และห้องปฏิบัติการยุทธศาสตร์และนโยบายทางสาธารณสุข การประเมินผลโครงการ การพัฒนาประเมินหลักสูตร เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และอื่นๆที่เกี่ยวข้องในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิชาการ รายงานผู้ป่วย กรณีศึกษา รายงานผลการวิจัย ผลการปฏิบัติงาน นวัตกรรมใหม่ การทบทวนวรรณกรรม สาระน่ารู้หรือการแปลเอกสารวารสารที่สามารถนำมาเป็นแนวทางหรือความรู้แก่ผู้อ่าน เช่น ผลการวิจัยใหม่ ๆ ที่พบในวารสารต่างประเทศ โดยเรื่องที่ส่งมาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือกำลังรอพิมพ์ในวารสารอื่น ทั้งนี้ผลงานวิจัยและบทความทุกเรื่องจะต้องผ่านคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่านพิจารณาบทความโดยวิธี double blinded ก่อนการลงพิมพ์ และคณะบรรณาธิการตรวจทานแก้ไขเรื่องต้นฉบับและพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับ และมีการตีพิมพ์เป็นภาษาไทย</div> <div> </div> <h3 style="text-align: center;">รายชื่อบรรณาธิการอดีต - ปัจจุบัน </h3> <div style="text-align: justify;"> 1. แพทย์หญิงศิริวรรณ สิริกวิน พ.ศ.2550 - 2550</div> <div style="text-align: justify;"> 2. นายแพทย์สุทัศน์ โชตนะพันธ์ พ.ศ.2551- 2560</div> <div style="text-align: justify;"> 3. แพทย์หญิงวรรณรัตน์ พงศ์พิรุฬห์ พ.ศ.2561- ปัจจุบัน</div> th-TH bidijournal@gmail.com (แพทย์หญิงวรรณรัตน์ พงศ์พิรุฬห์) bidijournal@gmaill.com (น.ส.มณทิรา ท้าวเขื่อน) Mon, 28 Oct 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ภาวะสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์ช่วงสถานการณ์ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 (COVID-19) ในสถาบันบำราศนราดูร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/268620 <p> การศึกษานี้เป็นแบบภาคตัดขวาง Cross- sectional study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพและปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของบุคลากรในสถาบันบำราศนราดูรจากฐานข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 811 รายที่มาตรวจสุขภาพปีงบประมาณ 2564 ทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวน ร้อยละ วิเคราะห์ด้วยสถิติอนุมาณด้วยไค-สแควร์ และ Multiple logistic regression analysis</p> <p> ผลวิจัยพบว่า พบสัดส่วนบุคลากรเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีเพศหญิงร้อยละ 78.5 อายุเฉลี่ยของบุคลากรประมาณ 42±10.99 ปี (Min-Max=20-72) พฤติกรรมสุขภาพส่วนใหญ่ไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ร้อยละ 84.2 ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 94.5 และ 84.3 ตามลำดับ มีการใช้ยาประจำร้อยละ 33.2 พบความชุกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ร้อยละ 81.6 พบความชุกที่มากที่สุด 3 อันดับแรก คือความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูงมีความชุกร้อยละ 57.0 46.9 และ 43.0 ตามลำดับ มีภาวะท้วมและอ้วนร้อยละ 61.7 ภาวะความเครียดระดับปานกลางและรุนแรงร้อยละ 32.6 ปวดกล้ามเนื้อส่วนคอและหลังร้อยละ 47.1 สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์กับ NCDs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) คือ เพศ อายุ และBMI โดยบุคลากรเพศหญิงมีโอกาสป่วยเป็น NCDs มากกว่าเพศชาย 1.83 เท่ากับ (95% CI 1.21-2.77) บุคลากรที่มีอายุ≥ 40 ปี มีโอกาสป่วยเป็น NCDs 1.69 เท่ากับ (95% CI 1.17-2.45) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า และบุคลากรที่มีระดับดัชนีมวลกาย &gt;30 kg/m<sup>2 </sup>มีโอกาสป่วยเป็น NCDs 2.21 เท่ากับ (95% CI 1.13-4.31) บุคลากรที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานสามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ร้อยละ 57.37 ส่วนบุคลากรที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตและไขมันได้ร้อยละ 49.78 และ 34.38 ตามลำดับ</p> อนงค์นุช สุจิรารัตน์ , ภณศา วงศาศิริภัทร, เจริญสุข อัศวพิพิธ , ไกรณญา เมธานวกิจไพศาล, วรรณรัตน์ พงศ์พิรุฬห์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันบำราศนราดูร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/268620 Mon, 28 Oct 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/274067 <p> ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ (ventilator-associated pneumonia; VAP) เป็นการติดเชื้อพบบ่อยที่สุดในหอผู้ป่วยวิกฤตและพบได้ในโรงพยาบาลศูนย์ทุกแห่ง เป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบได้เป็นลำดับแรกๆ ส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมีอัตราป่วยตายสูง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด VAP ในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์ เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) โดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อและเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล จัดทำโดยสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2566 ข้อมูลจากโรงพยาบาลศูนย์ 30 แห่ง <br /> ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบในโรงพยาบาล จำนวน 6,441 ราย (ร้อยละ 62.1) เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ (VAP) และร้อยละ 37.9 เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบที่ไม่ได้ใช้เครื่องช่วยหายใจ (non-VAP) โดยผู้ป่วย VAP เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต 2,230 ราย (ร้อยละ 83.2) และผลลัพธ์การรักษา พบผู้ป่วย VAP เสียชีวิต จำนวน 641 ราย (ร้อยละ 69.6) การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิด VAP โดยใช้สถิติ binary logistic regression พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตเกิด VAP เป็น 5.4 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยที่ไม่วิกฤต (AOR=5.4, 95% CI =4.73-6.35) และผู้ป่วยที่มี VAP พบว่ามีการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ เป็น 1.3 เท่า (AOR=1.3, 95% CI =1.15-1.49) เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่พบใน VAP มากกว่า non-VAP คือ Acinetobacter baumannii และ Pseudomonas aeruginosa<br />ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต มีความสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาพบได้มากขึ้นในผู้ป่วย VAP เช่นกัน ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต ควรปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างเคร่งครัด รวมไปถึงการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม</p> วินนะดา คงเดชศักดา, ชุมแพ สมบูรณ์, อัมไพวรรณ พวงกำหยาด Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันบำราศนราดูร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/274067 Mon, 28 Oct 2024 00:00:00 +0700 การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของสถาบันบำราศนราดูร ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/269905 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการรายงานโรคโควิด 19 ศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณของระบบเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ของสถาบันบำราศนราดูร ได้แก่ ค่าความไว ค่าพยากรณ์บวก ความทันเวลา คุณภาพของข้อมูลและความเป็นตัวแทน ศึกษาการนำไปใช้ประโยชน์ และคุณลักษณะเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ได้แก่ การยอมรับของผู้เกี่ยวข้อง ความยากง่าย ความยืดหยุ่น ความมั่นคงของระบบ และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ของสถาบันบำราศนราดูร โดยศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) และศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Study) ทบทวนเวชระเบียนตามแบบรายงานผู้ป่วยที่เข้าข่ายนิยามการรายงาน คือผู้ป่วยสงสัยที่มีผลตรวจด้วยวิธี Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลบวก ทบทวนแนวทางการเฝ้าระวังโรค และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 19 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ และใช้สถิติเชิงพรรณนา <br /> ผลการศึกษา พบว่า จากการทบทวนเวชระเบียนจำนวน 1,025 ราย พบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ตรงตามนิยามและรายงานในระบบเฝ้าระวัง จำนวน 582 ราย ผู้ป่วยไม่เข้าเกณฑ์ตามนิยามและรายงาน จำนวน 168 ราย ประเมินความไว ร้อยละ 87.16 ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565 มีข้อมูลที่รายงานทันเวลาภายใน 3 ชั่วโมง ร้อยละ 100 ค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 70.93 ความถูกต้องของข้อมูล จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ วันเริ่มป่วย คิดเป็นร้อยละ 99.56, 99.56 และ 13.00 ตามลำดับ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 30 พฤศจิกายน 2565 มีข้อมูลที่รายงานทันเวลาภายใน 7 วัน ร้อยละ 97.07 ค่าพยากรณ์บวกอยู่ในระดับสูงร้อยละ 92.31 โดยสถาบันบำราศนราดูรมีความไวของการรายงานอย่างมาก เนื่องจากมีผู้ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรค ข้อเสนอแนะให้หน่วยบริการควรร่วมกันเฝ้าระวังโรคโควิด 19 โดยสนับสนุนเทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้งานง่าย ทันเวลาต่อการวิเคราะห์ วางแผน ดำเนินงานจัดการควบคุมโรคไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด</p> อิรฟาน เปาะเยาะ, ฉันทยา อภินันทเกียรติ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันบำราศนราดูร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/269905 Mon, 28 Oct 2024 00:00:00 +0700 การปฏิบัติตนและแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 ของประชาชนชาติพันธุ์ ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/249066 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษkพฤติกรรมการปฏิบัติตน และศึกษาแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนชาติพันธุ์ที่มีอายุ 15-60 ปี โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม ได้แก่ ผู้นำชุมชน บุคลากรทางการศึกษา บุคลากรทางสาธารณสุข และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 16 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และประเด็นการสนทนากลุ่มแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 เป็นแนวคำถามปลายเปิดที่สามารถปรับได้ตามบริบทของพื้นที่ที่ศึกษา มีการตรวจคุณภาพเครื่องมือวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาด้วยการบรรยายและพรรณนา <br /> ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการปฏิบัติตนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 โดยรวม อยู่ในระดับสูง( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> =3.75 S.D.=0.98) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความอดทน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> =3.80 SD =0.96) รองลงมา คือ ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> =3.77 SD =1.04) ด้านการปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของสังคม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> =3.75 SD=0.98) และด้านความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> =3.70 SD =0.94) ตามลำดับ ส่วนแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน พบว่า ในระดับบุคคล ได้แก่ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อโรคโควิด 19 และการมีวินัยในตนเองเพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสโควิด 19 ในระดับครอบครัว ประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันภายในบ้าน และการให้กำลังใจซึ่งกันและกันในครอบครัว และในระดับชุมชน คือ การสร้างชุมชนปลอดภัย การสร้างความเข้าใจและการสื่อสารเชิงบวก</p> ต้องรัก จิตรบรรเทา , ทิพวรรณ เมืองใจ , นาวิน รมใจสา Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันบำราศนราดูร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/249066 Mon, 28 Oct 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการเตรียมความพร้อม ด้านโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/252096 <p> การเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ สามารถป้องกันภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ได้ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ และ ปัจจัยทำนายพฤติกรรมในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง ขณะตั้งครรภ์และมารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 3 จำนวน 180 ราย เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ การรับรู้ความเสี่ยงของภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ การรับรู้ความรุนแรงของ ภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ ความรู้ด้านโภชนาการ การรับรู้ประโยชน์ของการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ และการรับรู้อุปสรรคของการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน<br /> ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการก่อนตั้งครรภ์โดยรวม (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 32.68, SD = 8.29) ความรู้ด้านโภชนาการ (β= .278, <em>p &lt; .001</em>) การรับรู้ความเสี่ยงของภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ (β = .268, <em>p &lt; .001</em>) และการรับรู้อุปสรรคของการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการ (β= .176, <em>p &lt; .05</em>) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 22.22 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p &lt; .001) ส่วนการรับรู้ความรุนแรงของภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ และการรับรู้ประโยชน์ของการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ ไม่สามารถทำนายพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ได้<br /> ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล โดยการให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ ส่งเสริมการรับรู้ความเสี่ยงของภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ และลดอุปสรรคที่จะขัดขวางพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการก่อนตั้งครรภ์</p> จาฏุพัจน์ ศรีพุ่ม, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันบำราศนราดูร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/252096 Mon, 28 Oct 2024 00:00:00 +0700 พลวัตของคุณภาพชีวิตและอาชีวอนามัยของนิคมโรคเรื้อนในประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/249696 <p> บทความวิชาการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของชุมชนผู้คนในนิคมโรคเรื้อนของประเทศไทยด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่มนุษย์สามารถดำรงอยู่ในสถานการณ์ภาคบังคับกับข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ สังคม และข้อจำกัดทางด้านร่างกายที่ผู้ป่วยโรคเรื้อนจำเป็นต้องมีวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอด</p> <p> โดยพบว่าผู้ป่วยในนิคมโรคเรื้อนมีข้อจำกัดหลายประการในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและความจำเป็นขั้นพื้นฐานด้านการสาธารณสุข แต่มีการพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่โดยตอบสนองความต้องการของตนเพื่อการอยู่รอดและการพัฒนาอาชีวอนามัยโดยภูมิปัญญาและสัญชาติญาณ พบว่ามีการพัฒนาที่เป็นพลวัตแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะได้แก่ (1) ระยะการเรียนรู้ (2) ระยะการสร้างวิถี (3) ระยะการพัฒนาและประยุกต์ ทั้ง 3 ระยะถูกพัฒนา จากประสบการณ์ ความกดดัน ที่เป็นแรงผลักที่ทำให้เกิดพลวัตและการพัฒนาร่วมกันทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นการพัฒนาระบบทางกายภาพเพื่อความอยู่รอด บทความวิชาการนี้เน้นไปในด้านการอยู่อาศัย ด้านสาธารณสุข และอาชีวอนามัยโดยตรง ซึ่งการพัฒนาของมนุษย์จะเน้นการพึ่งพาตนเองและพึ่งพาธรรมชาติเป็นปัจจัยหลัก และเป็นพลวัตการพัฒนาเพื่อเอาชีวิตรอดจากการเป็นโรคเรื้อน เป็นบทเรียนที่ผ่านมาของผู้ป่วยโรคเรื้อนในนิคมโรคเรื้อน แม้ว่าปัจจุบันจะสามารถควบคุมโรคเรื้อนได้แล้วก็ตาม เพื่อเป็นบทเรียนให้กับโรคติดต่ออื่นๆ ที่มีการระบาดอยู่ในทุกๆ ช่วงชีวิตของเรา</p> อาจินต์ ชลพันธุ์, อำนาจ จำรัสจรุงผล, โกเมศ อุนรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันบำราศนราดูร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/249696 Mon, 28 Oct 2024 00:00:00 +0700