https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/issue/feed วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2024-04-25T09:42:44+07:00 แพทย์หญิงวรรณรัตน์ พงศ์พิรุฬห์ [email protected] Open Journal Systems <h3 style="text-align: center; color: #3399ff;"><strong>"รับ</strong><strong>บทความภาษาอังกฤษ</strong><strong>ทั้งในและต่างประเทศ"</strong></h3> <div> </div> <div style="text-align: justify;"> วารสารสถาบันบำราศนราดรู มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านสาธารณสุข ได้แก่ การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ ระบาดวิทยา การสอบสวนโรค อนามัยสิ่งแวดล้อม การแพทย์ การพยาบาล การพัฒนาคุณภาพงาน การตรวจพิเศษ และห้องปฏิบัติการยุทธศาสตร์และนโยบายทางสาธารณสุข การประเมินผลโครงการ การพัฒนาประเมินหลักสูตร เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และอื่นๆที่เกี่ยวข้องในรูปแบบบทความวิจัย บทความวิชาการ รายงานผู้ป่วย กรณีศึกษา รายงานผลการวิจัย ผลการปฏิบัติงาน นวัตกรรมใหม่ การทบทวนวรรณกรรม สาระน่ารู้หรือการแปลเอกสารวารสารที่สามารถนำมาเป็นแนวทางหรือความรู้แก่ผู้อ่าน เช่น ผลการวิจัยใหม่ ๆ ที่พบในวารสารต่างประเทศ โดยเรื่องที่ส่งมาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือกำลังรอพิมพ์ในวารสารอื่น ทั้งนี้ผลงานวิจัยและบทความทุกเรื่องจะต้องผ่านคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่านพิจารณาบทความโดยวิธี double blinded ก่อนการลงพิมพ์ และคณะบรรณาธิการตรวจทานแก้ไขเรื่องต้นฉบับและพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับ และมีการตีพิมพ์เป็นภาษาไทย</div> <div> </div> <h3 style="text-align: center;">รายชื่อบรรณาธิการอดีต - ปัจจุบัน </h3> <div style="text-align: justify;"> 1. แพทย์หญิงศิริวรรณ สิริกวิน พ.ศ.2550 - 2550</div> <div style="text-align: justify;"> 2. นายแพทย์สุทัศน์ โชตนะพันธ์ พ.ศ.2551- 2560</div> <div style="text-align: justify;"> 3. แพทย์หญิงวรรณรัตน์ พงศ์พิรุฬห์ พ.ศ.2561- ปัจจุบัน</div> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/268413 สมรรถนะของพยาบาลด้านการควบคุมและการเฝ้าระวังการติดเชื้อ สถาบันบำราศนราดูร 2024-01-22T09:47:27+07:00 สุจินดา ศรีบัวโรย [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลด้านการควบคุมและการเฝ้าระวังการติดเชื้อ สถาบันบำราศนราดูร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถาบันบำราศนราดูร จำนวน 125 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสมรรถนะพยาบาลด้านการควบคุมและการเฝ้าระวังการติดเชื้อ ประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนคือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลด้านการควบคุม และการเฝ้าระวังการติดเชื้อ แบ่งเป็น สมรรถนะด้านการควบคุมการติดเชื้อ 17 ข้อย่อย และสมรรถนะด้านการเฝ้าระวังการติดเชื้อ 11 ข้อย่อย ได้ค่าตรงตามเนื้อหา 0.98 ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลด้านการควบคุม และการเฝ้าระวังการติดเชื้อ สถาบันบำราศนราดูร อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.65 SD = 0.59) โดยประกอบด้วย สมรรถนะด้านการป้องกัน และควบคุมการติดเชื้ออยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.65 SD = 0.60) สมรรถนะของพยาบาลด้านการเฝ้าระวังการติดเชื้ออยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.64 SD = 0.61) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาศักยภาพด้านการควบคุมและเฝ้าระวังการติดเชื้อของพยาบาลวิชาชีพในสถาบันบำราศนราดูร เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันบำราศนราดูร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/254561 รูปแบบการจัดการดูแลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออาร์เอสวีในเด็กเล็ก 2022-02-22T14:26:09+07:00 เบญจมภัทร เงินปาน [email protected] บุญทิพย์ สิริธรังศรี [email protected] กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ [email protected] <div> การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออาร์เอสวีในเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 2 กลุ่ม กลุ่ม 1 ผู้ดูแล 5 คน และผู้ให้บริการ 10 คน รวม 15 คน กลุ่ม 2 ผู้แทนของกลุ่มแรกและผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคติดเชื้อ จำนวน 7 คน การดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน 1) วิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการของการจัดการดูแลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออาร์เอสวีในเด็กเล็ก 2) สร้างรูปแบบการจัดการดูแลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออาร์เอสวีในเด็กเล็ก และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออาร์เอสวีในเด็กเล็กของสถาบันบำราศนราดูรที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือการวิจัยมี 2 ชุด ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อวิเคราะห์สภาพการณ์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออาร์เอสวีในเด็กเล็ก และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออาร์เอสวีในเด็กเล็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา</div> <div> ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการดูแลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออาร์เอสวีในเด็กเล็ก สถาบันบำราศนราดูร ที่พัฒนาขึ้น มี 3 มิติ มิติที่ 1 บริบท ปัจจัยเสี่ยงและป้องกัน ได้แก่ ผู้ดูแลขาดความรู้และทักษะการดูแลเด็กเล็กเกี่ยวกับโรคอาร์เอสวี และขาดความมั่นใจในการดูแลบุตรหลานที่บ้าน ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องภายหลังจำหน่ายกลับบ้าน และมีช่องทางการรับยาที่รวดเร็ว มิติที่ 2 กระบวนการการจัดการดูแล ผู้ดูแลและผู้ให้บริการมีส่วนร่วมกันในการจัดการดูแล เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้ ทักษะ และความมั่นใจในการดูแลที่บ้าน สามารถโทรศัพท์ปรึกษานอกเวลาราชการได้ มีระบบบริการ การประสานการส่งต่อ การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย และติดตามอาการจนหายเป็นปกติ และมิติที่ 3 ผลลัพธ์จากการจัดการดูแล ผู้ดูแลมีความรู้ ทักษะการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดโรคและการแพร่กระจายเชื้ออาร์เอสวีในโรงพยาบาลหรือที่บ้าน ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนและไม่เป็นโรคซ้ำ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้ที่สถาบันบำราศนราดูรโดยรวม ร้อยละ 89.92</div> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันบำราศนราดูร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/261084 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกินของสถาบันบำราศนราดูร จังหวัดนนทบุรี 2023-01-25T10:15:57+07:00 พิมพ์มาศ เกิดสมบัติ [email protected] ศริศักดิ์ สุนทรไชย [email protected] วศินา จันทรศิริ [email protected] <p> การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 3) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรสถาบันบำราศนราดูรที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกิน สถาบันบำราศนราดูร จังหวัดนนทบุรี จำนวน 243 คน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และฟิชเชอร์ เอกแซค ที่ความเชื่อมั่นในการทดสอบทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05 <br /> ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 40 – 49 ปี มีสถานภาพสมรส จบระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการระดับสูง (ร้อยละ 60.90) ความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยภาพรวมระดับไม่เพียงพอ (ร้อยละ 62.10) ความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานระดับไม่เพียงพอ (ร้อยละ 89.30) ความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นการมีปฏิสัมพันธ์ระดับก้ำกึ่ง (ร้อยละ 41.20) ความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นวิจารณญาณระดับเพียงพอ (ร้อยละ 40.70) และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารระดับปานกลาง (ร้อยละ 46.50) มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารระดับพอใช้ (ร้อยละ 75.30) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (<em>p = 0.026</em>) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (<em>p &lt; 0.001</em>) และระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <em>(p &lt; 0.001</em>)</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันบำราศนราดูร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/252441 อัตราการปนเปื้อนการเพาะเชื้อปัสสาวะ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในภาคใต้ 2022-04-01T14:23:30+07:00 นฤชา โกมลสุรเดช [email protected] อรุณสวัสดิ์ เจริญวิกกัย [email protected] ณัฐนิช ปิตะปิลันธน์ [email protected] พิชามญชุ์ ขำสกุล [email protected] วุฒิโรจน์ แสงชโยสวัสดิ์ [email protected] สุภาวี กิตติสัตยกุล [email protected] สุวนัฐ ศรีพิทักษ์ [email protected] อติวิชญ์ เพ็ชรพวง [email protected] ธัญณัฐ พิชิตวงศ์ [email protected] อุไรวรรณ รัตนมณี [email protected] <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางเพื่อศึกษาอัตราการปนเปื้อนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนการเพาะเชื้อปัสสาวะของกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการเพาะเชื้อปัสสาวะในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ด้วยการถ่ายปัสสาวะปกติ และการเก็บด้วยการสวนท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2562 จำนวน 6,555 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบเวชระเบียน วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติคแบบพหุคูณ<br /> ผลการศึกษาพบว่า ประชากรส่วนใหญ่มีอายุในช่วง 60-79 ปี (ร้อยละ 34.08) และเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.54) พบอัตราการปนเปื้อนของการเพาะเชื้อปัสสาวะคิดเป็นร้อยละ 5.71 โดยปัจจัยที่เพิ่มการปนเปื้อนของผลเพาะเชื้อปัสสาวะ ได้แก่ ผู้ป่วยเพศหญิง (OR = 1.29, 95% CI = 1.03-1.61) ผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 20-79 ปี (OR = 2.02-2.52) และค่าดัชนีมวลกายที่มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กก./ตร.ม. (OR = 1.74, 95% CI = 1.08-2.81) สำหรับการส่งตรวจจากห้องฉุกเฉิน เป็นปัจจัยที่ช่วยลดการปนเปื้อนการเพาะเชื้อปัสสาวะ (OR = 0.61, 95% CI = 0.47-0.78)<br />การวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงอัตราการปนเปื้อนและปัจจัยที่เพิ่มหรือลดการปนเปื้อนในการส่งเพาะเชื้อ ปัสสาวะ ซึ่งทำให้ทราบว่าในกระบวนการเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจเพาะเชื้อกับผู้ป่วยเพศหญิง ผู้ที่มีอายุในช่วง 20-79 ปี และผู้ที่มีโรคอ้วน เป็นกลุ่มที่ควรได้รับคำแนะนำอย่างระมัดระวัง รวมถึงควรปรับปรุงระบบการส่ง ปัสสาวะ ไปยังห้องปฏิบัติการให้รวดเร็วขึ้นทั้งโรงพยาบาล เหมือนกับระบบของห้องฉุกเฉินเพื่อให้สามารถลดอัตราการปนเปื้อนลงได้</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันบำราศนราดูร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/245951 ผลของนวัตกรรมสื่อแอนิเมชันต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ในการป้องกันโรคโควิด 19 ของเด็กนักเรียนประถมศึกษา 2021-12-02T14:54:52+07:00 จารุวรรณ สนองญาติ [email protected] <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของนวัตกรรมสื่อแอนิเมชันต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ได้กลุ่มทดลอง จำนวน 36 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองและสื่อแอนิเมชัน แบบวัดความรู้เรื่องการป้องกันโรคโควิด 19 การหาคุณภาพของเครื่องมือโดยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.60-1.00 และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ เท่ากับ .86 แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบราค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One way ANOVA<br /> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ในระยะหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;.01) และคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .01) <br /> จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสื่อนวัตกรรมแอนิเมชันสามารถถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 การปฏิบัติการดูแลตนเองที่ถูกต้อง เข้าใจง่ายและจดจำเนื้อหาได้ดีจนเกิดการรับรู้และมีแรงจูงใจที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องตามมาได้</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันบำราศนราดูร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/253501 การศึกษาระยะเวลาการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 จังหวัดระยอง, ประเทศไทย 2021-12-14T15:04:45+07:00 วิลาวัลย์ เอี่ยมสอาด [email protected] เวสารัช วรุตมะพงศ์พันธุ์ [email protected] <p> การศึกษาแบบ Retrospective Cohort Study ประมาณระยะเวลาพักรักษาในโรงพยาบาล และปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการรักษาโควิด 19 (Discharge free survival) ของผู้ป่วยโควิด 19 จังหวัดระยอง จากข้อมูลผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสโควิด 19 ที่บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ ที่มีผลตรวจ RT-PCR เป็น Detected ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2562-31 มกราคม 2564 ผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสโควิด 19 เป็นผู้ติดเชื้อ 404 ราย และผู้สัมผัส 174 ราย วิเคราะห์ Kaplan-Meier ในการประมาณระยะเวลาที่พักรักษาและ Log rank test ทดสอบความแตกต่างระหว่างกราฟกับเวลาที่พักรักษา Cox' s Regression กับ Hazard ration ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจำหน่ายผู้ป่วย Cox proportional hazard model แปลผลและเปรียบเทียบตามตัวแปรมีผลแตกต่างจากระยะเวลาการจำหน่าย โดย p-value &lt; 0.05 ผล Kaplan-Meier ค่า Median Survival Time การพักรักษาเท่ากับ 15.97 วัน (95% CI=16.87-19.12) หลักๆ มีอาการ ไอ แปลผล Log rank test พบผู้ป่วย PUI (Patients Under Investigation) และ CC (Contact Cases) การนอนพักรักษาในโรงพยาบาล (โรงพยาบาลระยอง โรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลรัฐอื่นๆ โรงพยาบาลเอกชน) และที่พักอาศัย (อำเภอเมืองระยองและอำเภออื่นๆ) มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการพักรักษา <em>(p &lt; 0.0001, p &lt; 0.0001</em> และ<em> p &lt; 0.0001</em> ตามลำดับ) Multivariate analysis เพศชายมีโอกาสจำหน่ายออกได้เร็วกว่าเพศหญิง 1.21 เท่า (adj HR=1.21, 95% CI= 1.02-1.43, <em>p=0.027</em>) ผู้ติดเชื้อ แบบ PUI มีโอกาสจำหน่ายได้เร็วกว่าผู้ติดเชื้อแบบ CC 1.64 เท่า (adj HR=1.64, 95% CI =1.36-1.98, <em>p&lt; 0.0001</em>) อาศัยในอำเภอเมืองระยองมีโอกาสจำหน่ายออกได้เร็วกว่าอำเภออื่น 0.66 เท่า (adj HR=0.66, 95% CI = 0.54-0.79, <em>p&lt; 0.0001</em>) และพักรักษาโรงพยาบาลรัฐอื่นๆ และโรงพยาบาลเอกชนมีโอกาสจำหน่ายออกได้ช้ากว่าโรงพยาบาลระยองและโรงพยาบาลสนาม 0.66 เท่า (adj HR=0.66, 95% CI =0.47-0.92, <em>p&lt; 0.0150</em>) และ 0.63 เท่า (adj HR=0.63, 95% CI =0.43-0.90, <em>p&lt; 0.0130</em>) ตามลำดับ ผลศึกษาสนับสนุนวางแผนรักษาและป้องกันแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลและชุมชน </p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันบำราศนราดูร