TY - JOUR AU - จรรยานะ, ลัดดาวรรณ์ PY - 2022/04/29 Y2 - 2024/03/29 TI - ประสิทธิผลของการใช้มาตรการ VAP Bundle อย่างเข้มข้น เพื่อลดอัตราการเกิดVAP ในหอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ และหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ JF - วารสารสถาบันบำราศนราดูร JA - วารสารสถาบันบำราศนราดูร VL - 16 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - 10.14456/jbidi.2022.4 UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/244175 SP - 33-43 AB - <p>        วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเกิด VAP  ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ VAP Bundle แบบเดิม และใช้ VAP Bundle อย่างเข้มข้น การวิจัยแบบ Interrupted  time  design ศึกษาผู้ป่วยวิกฤตที่ใส่ท่อช่วยหายใจระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึง เมษายน 2561  ทำการศึกษาผู้ป่วย 2 ช่วง คือกลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุม ใช้ VAP Bundle แบบเดิม และกลุ่มหลังเป็นกลุ่มทดลอง ใช้ VAP Bundle อย่างเข้มข้น เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ทดสอบความแตกต่างของ proportion ด้วย exact probability test และทดสอบประสิทธิผลการใช้ VAP Bundle อย่างเข้มข้นด้วยสถิติ Cox’s regression model</p><p>        ผลการวิจัย ผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด 164 ราย เป็นกลุ่มทดลอง 81 ราย คิดเป็นร้อยละ 49.4 และกลุ่มควบคุม 83 รายคิดเป็นร้อยละ 50.6  มี เพศ อายุ การวินิจฉัยโรค  โรคร่วม GCS, APACHE II, Length of ICU, Length of Ventilator, การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวดและยานอนหลับ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ในกลุ่มทดลองที่ใช้แนวทาง VAP bundle อย่างเข้มข้นในทุกๆด้าน มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001)   มี Incidence rate ต่อ 1,000 วันใส่เครื่องช่วยหายใจน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (3.00/1,000 ventilator-days และ 18.30/1,000 ventilator-days p= 0.001) และอุบัติการณ์การเกิด VAP ในกลุ่มทดลองลดลงอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (HR=0.13, 95%CI =0.03 – 0.49, p=0.003)  การใช้ VAP Bundle อย่างเข้มข้น และมีการนิเทศ ติดตาม อย่างต่อเนื่อง จะทำให้อุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลง จึงควรนำไปใช้กับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจทุกราย</p> ER -